วันที่ 6 มิถุนายน2563 ณ โรงแรมบุรีศรีภู อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ศอ.บต.ร่วมกับภาคเอกชนจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการกระบวรการสร้างการรับรู้และสร้างการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนโครงการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ อ.จะนะ จ.สงขลา
ศอ.บต.เป็นหน่วยงานรับผิดชอบด้านการพัฒนาตังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีการนำเสนอที่มาและความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่จากการมีเครื่องยนต์เศรษฐกิจใหม่ (Growth Engine ) ตามที่รัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่4 ตุลาคม 2559 โดยเน้นย้ำว่า การดำเนินการในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมพื้นที่อำเภอจะนะเพื่อเป็นเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแห่งอนาคตนั้น เป็นการบังคับใช้มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดขายแดนใต้ พ.ศ.2553 ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อร่วมกำหนดและเชื่อมโยงมิติพัฒนาไปพร้อมกัน เน้นการจัดทำโครงการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนไปพร้อมกับแผนพัฒนาของเอกชน ภาคเอกชนจะเข้ามาร่วมพัฒนาพื้นที่ร่วมกับรัฐและประชาชนเพื่อยกระดับเมืองจะนะให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งครบวงจร ศูนย์กลางพลังงานไฟฟ้า อุตสาหกรรมสีเขียว อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่ไปพร้อมกันอย่างสร้างสรรค์
โดยนายสันติ รังสิยาภาณ์รัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ นำเสนอข้อมูลเศรษฐกิจไทย มีการหดตัวสูงขึ้นและหดตัวต่อเนื่อง ส่งผลต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อติดลบและจำนวนการว่างงานเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญกับมาตรการฟื้นฟูต่อจากการเยียวยา ทั้งในระบบเศรษฐกิจ แรงงาน และที่สำคัญ ต้องรับมือความท้าทายของโลกหลังโควิด-19 ส่วนทางด้านนายคณิต แสงสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้นำเสนอความก้าวหน้าการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกตามเป้าหมายเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคตความก้าวหน้าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มศักยภาพการลงทุน รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการจัดระบบการสะสมเทคโนโลยีเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศไทย
แต่ก็มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการที่จะเกิดขึ้นมีการยื่นแถลงการณ์โดยใช้ชื่อว่า “ เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น” เรื่อง ยกเลิกโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคตจะนะ หยุดสร้างความอัปยศให้กับ ศอ.บต.
โครงการ “จะนะเมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” เป็นโครงการที่สังเกตได้ถึงความผิดปกติและผิดมาตรฐานในแนวทางการดำเนินงานของ ศอ.บต. คือ ศอ.บต.กลายเป็นผู้ยุยงส่งเสริม สร้างความขัดแย้ง อันเกิดจากความคิดเห็นและความไม่เข้าใจ การจัดฉากเวทีเพียงรูปแบบ หวังเพียงรายชื่อและลายเซ็นชาวบ้านที่นำไปอ้างว่ามีผู้สนับสนุนโครงการ พยายามรวบรัดขั้นตอนกระบวนการดำเนินงานโดยไม่สนใจระเบียบปฏิบัติทางกฎหมายไม่สนต่อสภาวะทางสังคม วัฒนธรรมของคนในพื้นที่ การที่รัฐบาลอนุมัติโครงการก่อน และมีความรีบเร่งที่จะทำโครงการดังกล่าว ซึ่งจะสร้างความเสียหายกับทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งอย่างมหาศาลรวมถึงการทำลายระบบนิเวศน์โดยรวมของสัตว์น้ำ ทางเครือข่ายเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง และโครงการดังกล่าวจะส่งผลกระทบกับประชาชนในวงกว้าง ศอ.บต. ควรให้ความสําคัญกับการดำเนินอย่างมีมาตรฐานให้มีความเป็นธรรมาภิบาล นี่คือคำแถลงการณ์ของเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น
แต่อย่างไรก็ตาม โครงการนี้จะเกิดขึ้นหรือไม่นั่นจะต้องมีมาตรการที่สำคัญในการขับเคลื่อนในทกๆด้านให้เดินทางไปพร้อมกับกลไกต่างๆให้มีความถูกต้องและปลอดภัยต่อสังคม