วันที่ 24 สิงหาคม 2567 เวลา 11.00 น. ณ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี กองสันติวิธี ศูนย์สันติวิธีจัดพิธีลงนามรับรองแนวทางการปลูกฝัง “ยะกีน” ให้เป็นจิตสำนึกที่แข็งแกร่งเพื่อขับเคลื่อนธรรมนูญหมู่บ้าน 9 ดี (ฮูกุมปากัต) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนธรรมนูญหมู่บ้าน 9 ดี (ฮูกุมปากัต) ซึ่งได้ผ่านการซูรอหารือ และร่วมกำหนดแนวทางการปลูกฝัง “ยะกีน” โดยผู้นำศาสนาอาวุโสในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนได้ข้อสรุปที่นำมาซึ่งแนวทางการปลูกฝัง “ยะกีน” และร่วมลงนามรับรอง “แนวทางการปลูกฝังยะกีน) โดยองค์กรผู้นำศาสนาในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย ดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานสำนักจุฬาราชมนตรีประจำภาคใต้ , นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานสมาพันธ์กรรมการอิสลาม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้, นายอับดุลมูไฮมี สาและ ประธานมูลนิธิศูนย์ประสานงานกติกาห้าจังหวัดจังหวัดชายแดนภาคใต้,นายมูฮัมมัดซารี สาแล นายกสมาคมสถาบันการศึกษาปอเนาะจังหวัดชายแดนภาคใต้,นายศักดิ์กรียา บิลเเสละ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา, นายอับดุลบาซิ เจ๊ะมะ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา ร่วมลงนามรับรอง ”แนวทางการปลูกฝังยะกีน“ พร้อมส่งมอบหนังสือแนวทางการปลูกฝังยะกีนเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาของชุมชน ภายใต้ศาสนาที่ถูกต้องอย่างยั่งยืนและมั่นคง โดยมี พลโท ศานติ ศกุนตานาค แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย พลโท ปราโมยท์ พรหมอินทร์ แม่ทัพน้อยที่ 4 / รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า , พันตำรวจโท วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้, นายเสรี ศรีหะไตร,พันเอก ปฐพี พุทธผล ผู้อำนวยการกองสันติวิธี ศูนย์สันติวิธี, และส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นเกียรติเป็นสักขีพยานการลงนามครั้งนี้
“แนวทางการปลูกฝังยะกีน” จะป็นการสร้างจิตสำนึกที่แข็งแกร่งที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนธรรมนูญหมู่บ้าน 9 ดี (ฮูกุมปากัต) ซึ่งทั้งหมดได้ผ่านการซูรอร่วมกันของทุกภาคส่วนภายใต้การรับรอง โดยศูนย์ประสานงานสำนักจุฬาราชมนตรีประจำภาคใต้ สมาคมสถาบันการศึกษาปอเนาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสมาพันธ์กรรมการอิสลามจังหวัดชายแดนใต้ ที่ประชาชนในพื้นที่ให้การยอมรับ เสมือนเป็น พันธสัญญาให้ทุกคนยึดถือปฏิบัติเป็นวิถีชีวิต เพื่อทำให้หมู่บ้านเกิดสันติสุขอย่างมั่นคงเป็นการพึ่งพาตนเองพึ่งพาซึ่งกันและกัน และถือว่าเป็นไปตามหลักคำสอนและข้อตกลง ที่ได้รับความเห็นชอบร่วมกันของสมาชิกในหมู่บ้าน ด้วยกระบวนการขับเคลื่อนธรรมนูญหมู่บ้าน 9 ดี (ฮูกุมปากัต) ให้เกิดเป็นรูปธรรม เกิดประโยชน์สูงสุดในการขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่ชุมชนของตัวเองและใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหาของชุมชน ภายใต้หลักศาสนาที่ถูกต้อง ซึ่งจะนำสันติสุขกลับคืนมาอย่างยั่งยืน