วันอาทิตย์, 22 ธันวาคม 2567

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่จัดแถลงข่าวทิศทางมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ในการขับเคลื่อนงานวิจัยสู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นก้าวเข้าสู่ปีที่ 27

วันที่ 31 ตุลาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ นายวรณัฏฐ์ หนูรอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาเป็นประธานในพิธีเปิดงานพร้อมด้วย ผศ.ดร. วิทวัส ดิษยะศรินสัตยารักษ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ รศ.ดร.ก้าน จันทร์พรหมมา ที่ปรึกษาอธิการบดีฝ่ายวิจัย ผส.ดร.ปกรณ์ ลิ้มโยธิน รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผศ.ดร.นุกูล ชิ้นฟัก คณบดีคณะรัฐศาสตร์และสื่อมวลชนร่วมเป็นเกียรติในงาน

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ได้มีการแถลงข่าวทิศทางมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ในการขับเคลื่อนงานวิจัยสู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ก้าวเข้าสู่ปีที่ 27 ด้วยความมั่นคง ด้วยวิสัยทัศน์และปณิธานของท่านผู้ก่อตั้งอาจารย์ประณีต ดิษยะศริน และการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลของสภามหาวิทยาลัยหาดใหญ่

เป็นที่น่ายินดีจากการประเมินคุณภาพภายในผลการดำเนินงานอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (4.51)  นับเป็นผลงานเชิงประจักษ์ที่มีผลจากการพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องทั้งใน 4 พันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยรวมทั้งการพัฒนาส่งเสริมคุณภาพคณาจารย์ในทุกมิติ และนักศึกษาเป็นที่ยอมรับได้รับรางวัลระดับประเทศมากมายต่อเนื่องกันมาหลายปี มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เช่น ประเทศจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นต้น

จากปรัญญาของมหาวิทยาลัย “รู้คิด รู้ธรรม รู้สำเร็จ” มหาวิทยาลัยหาดใหญ่มุ่งพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณภาพออกไปสู่สังคม มีความสมบูรณ์ทั้งด้ายวินัย คุณธรรม สิติปัญญา ที่ผ่านมามีบัณฑิตที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย ออกสู่ตลาดแรงงาน มากกว่า 10,000 คน ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ล้วนเป็นที่ยอมรับของสถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนประสบความสำเร็จและเป็นที่รู้จักมากมาย

จากวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ปี 2570 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ พัฒนากำลังคนแห่งอนาคต ยกระดับคุณค่าชุมชนท้องถิ่นด้วนนวัตกรรม ทิศทางในการพัฒนามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยได้ตั้งเป้าหมาย โดยการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัย

เป้าหมายหลัก สร้างมหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งวิชาการชั้นสูง โดยการสร้างความองค์ความรู้ใหม่ การนำวิจัยไปสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ ที่ทำให้ผลงานของคณาจารย์และนักศึกษาเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ โดยมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ วางแผนพัฒนาความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ โดยมุ่งพัฒนาผลัดกันชุมชน เพื่อการเป็น “หลักในถิ่น และเป็นแหล่งเรียนรู้ มุ่งสู่ความเป็นสากล” ปัจจุบันมหาวิทยาลัยหาดใหญ่เป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 3 เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการดำเนินการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน โดยมีพันธกิจหลัก

1.         มุ่งสร้างครู สร้างนวัตกร สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยเน้นไปยังพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง

2.         ขับเคลื่อน พัฒนาพื้นที่ ชุมชน สร้างความยั่งยืน ในความเชี่ยวชาญด้านการจัดการธุรกิจ การท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ Startup

3.         การร่วมเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสงขลา ในด้านธุรกิจ ท่องเที่ยว และการศึกษา เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

จากเป้าหมายหลัก มหาวิทยาลัยหาดใหญ่จึงได้กำหนดแผนพัฒนาความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ หรือแผนพลิกโฉม ที่เน้นกิจกรรมและโครงการในด้านการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน  เน้นการพัฒนาด้านการส่งเสริมเทคโนโลยีและระบบสิ่งแวดล้อม การพัฒนาคุณภาพการสอนให้เป็นสมัยใหม่ พัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับทิศทางของมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ และสาขาวิชาชีพครู

สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education: CWIE) จึงเป็นหนึ่งในกลไกการจัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยหาดใหญ่และหน่วยงานภายนอก ดำเนินการร่วมกันอย่างเป็นระบบ โดยให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในสถาบันอุดมศึกษาควบคู่กับการปฏิบัติงานจริงในหน่วยงานภายนอก (Work-based Learning) ในทุกรูปแบบ ที่ทำให้นักศึกษามีสมรรถนะ(ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) ทัศนคติ (Attitudes) และค่านิยม (Values) และคุณลักษณะตรงกับความต้องการของตลาดงาน และพร้อมสู่โลกแห่งการทำงานจริง

นอกจากนี้แล้วมหาวิทยาลัย ยังมีโครงการ หลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรเฉพาะ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อี่นๆ ทั้งที่เป็นหลักสูตรบนแพลตฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิต Lifelong Learning Hatyai University และหลักสูตรระยะสั้น (Non Degree) ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)  มีจุดประสงค์เพื่อสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงสำหรับอุตสาหกรรม New Growth Engine ตามนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งมหาวิทยาลัยหาดใหญ่มีหลักสูตรผ่านการอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-Degree) จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตร การเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุกลุ่มแรงงานนอกระบบ หลักสูตรการผลิตสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สู่รายวิชา และหลักสูตรการยกระดับทักษะการสร้างแบรนด์ดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์

ในปีการศึกษา 2567 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตรให้ได้รับการยอมรับในเครืองข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน โดยใช้วิธีการประเมินหลักสูตร AUNQA (ASEAN: University Network Quality Assurance) และมุ่งมั่นพัฒนามหาวิทยาลัยให้เข้าสู่ระบบการจัดอันดับของ The University Impact Ranking การบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม  มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีทีมนักวิจัยพัฒนาพื้นที่ มีความพร้อมด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็ง   การต่อยอดสู่การสร้างผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน การวิจัยด้านการท่องเที่ยว รวมถึงการสร้างแพลตฟอร์ม และตลาดชุมชนผ่าน Google My Business โครการวิจัย HU Marketing HUB ที่เป็นแหล่งรวมสินค้าและกระจายสินค้าจากผลิตภัณฑ์ชุมชน และผู้ประกอบการรายใหม่ ซึ่งบริหารงานโดยนักศึกษา รวมทั้งการบูรณาการการสอน การวิจัย และบริการวิชาการ  จากควาพร้อมและสนับสนุนจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยหาดใหญ่

ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ คว้ารางวัล “ชุมชนนวัตกรรมยอดเยี่ยม” จากผลงานวิจัย “การพัฒนานวัตกรรมการเลี้ยงและการขยายพันธุ์ผึ้งชันโรง เพื่อยกระดับศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนบนฐานทรัพยากรท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา” ภายใต้ชุดโครงการ การพัฒนาชุมชนเพาะเลี้ยงผึ้งชันโรงสู่การเป็นชุมชนนวัตกรรมอย่างยั่งยืนจังหวัดสงขลา ในการประกวดชุมชนนวัตกรรม เทคโนโลยีพร้อมใช้ และนวัตกร ดีเด่น ในงาน “มหกรรมชุมชนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้” Leaning and Innovation Community จัดโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)  ซึ่งเป็นรางวัลที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับมหาวิทยาลัยหาดใหญ่เป็นอย่างมาก  และด้วยการที่มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ได้รับการยอมรับให้เป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 3 ด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น การพัฒนา Area Based จึงเป็นแนวทางช่วยให้ชุมชนเกิดการพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่นซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เติบโตอย่างยั่งยืน  โดยดึงภาคีเครือข่ายความร่วมมือ Change Agent หน่วยงานในเชิง Function เข้ามาช่วยในลักษณะ Service Provider และการร่วมจัดทำ Big Data โครงการการยกระดับศักยภาพความเข้มแข็งชุมชนนวัตกรรมจังหวัดสงขลา ครอบคลุมไปถึง 7 จังหวัดใต้ล่าง ซึ่งคณาจารย์ยังได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัย อีกหลายเรื่อง จากหน่วยงานภายนอก เช่น สำนักงานวิจัยแห่งชาติ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท)  สำนักงานคณะกรรมการสส่งเสริมวิทยาศาตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว) ซึ่งทำให้ผลงานวิจัยของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่เป็นที่รู้จัก และเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับท้องถิ่นรวมถึงระดับประเทศ

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ปรับแผนพัฒนาการศึกษา มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย SDGs (Sustainable Development Goals) สนับสนุนการศึกษารูปแบบใหม่ ผลักดันการนำเทคโนโลยี มาพัฒนาการดำเนินงานต่างๆ เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมต้นแบบเพื่อชุมชน และร่วมพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน โดยการส่งเสริมให้บุคลากร นักศึกษาทุกหน่วยงานและชุมชนยุทธศาสตร์ มีจิตสำนึกและพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างองค์ความรู้และขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ด้วยความมุ่งมั่น ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ในการก้าวสู่เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำ ของภาคใต้ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่พร้อม สนับสนุน การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน   ความเป็นนานาชาติ การบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้มหาวิทยาลัยหาดใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย  เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการดำเนินการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน เพื่อท้องถิ่น