วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

มรภ.สงขลา ลงพื้นที่เกาะสาหร่าย ต่อยอดการอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่ ภายใต้โครงการวิจัยการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรชายฝั่งทะเลเพื่อการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ตามวิถีชุมชนในอุทยานธรณีโลกสตูล : กรณีศึกษาเกาะสาหร่าย

วันที่ 22 ธ.ค. 65 ที่อาคารเอนกประสงค์ โรงเรียนบ้านเกาะสาหร่ายชัยพัฒนา ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรม “ถ่ายทอดผลงานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย สู่ชุมชนเกาะสาหร่าย จังหวัดสตูล” ระหว่างวันที่ 22-23 ธันวาคม 2565 ภายใต้โครงการวิจัยการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรชายฝั่งทะเลเพื่อการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ตามวิถีชุมชนในอุทยานธรณีโลกสตูล : กรณีศึกษาเกาะสาหร่าย โดยมีนายกุลวัสส์ วิเศษยิ่ง รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วยนายอำหรน หมัดตุกัง รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย และ ดร.นุชจรินทร์ เพชรเกลี้ยง หัวหน้าโครงการวิจัยการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรชายฝั่งทะเลฯ คณะผู้วิจัย ครู นักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะสาหร่ายชัยพัฒนา และชาวตำบลเกาะสาหร่าย เข้าร่วม

ดร.นุชจรินทร์ เพชรเกลี้ยง หัวหน้าโครงการวิจัยการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรชายฝั่งทะเลฯ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมฯ ภายใต้โครงการวิจัยการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรชายฝั่งทะเลเพื่อการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ตามวิถีชุมชนในอุทยานธรณีโลกสตูล : กรณีศึกษาเกาะสาหร่าย เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์หน้าดินและทรัพยากรจุลินทรีย์บริเวณชายฝั่งทะเลเกาะสาหร่าย ในปี 2565 , ระดมความคิดเห็นเพื่อคัดเลือกทรัพยากรที่มีศักยภาพมาใช้ประโยชน์ในชุมชน และจัดทำคู่มือเรื่องเล่าจากเกาะสาหร่าย : คุณค่าของทรัพยากรที่ถูกมองข้าม , ถ่ายทอดความรู้ให้ชุมชน ไกด์ท้องถิ่น นักเรียน และผู้สนใจ และจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย ในปี 2566

ด้าน นายกุลวัสส์ วิเศษยิ่ง รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย ประธานในพิธี กล่าวว่า ในนามองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย ขอขอบคุณคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ที่จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรม “ถ่ายทอดผลงานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย สู่ชุมชนเกาะสาหร่าย จังหวัดสตูล” ขึ้น ขอขอบคุณที่มาเกาะสาหร่าย และให้ความสำคัญกับพื้นที่ ซึ่งจากการลงพื้นที่ศึกษาวิจัยทั้ง 2 โครงการ นับว่าเป็นประโยชน์กับตำบลเกาะสาหร่าย จากทรัพยากรที่ลดลง การวิจัยในครั้งนี้ จะทำให้คนในพื้นที่เห็นความสำคัญของทรัพยากรต่าง ๆ ในการอนุรักษ์และใช้งานมากขึ้นต่อไป

สำหรับโครงการวิจัยการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรชายฝั่งทะเลเพื่อการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ตามวิถีชุมชนในอุทยานธรณีโลกสตูล : กรณีศึกษาเกาะสาหร่าย ประกอบด้วย 2 โครงการย่อย ได้แก่ 1.โครงการความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์หน้าดินทะเลบริเวณชายฝั่งและการใช้ประโยชน์ในชุมชนในอุทยานธรณีโลกสตูล คณะผู้วิจัย นางสาวสุธินี หีมยิ (มรภ.สงขลา) , ดร.นุชจรินทร์ เพชรเกลี้ยง (มรภ.สงขลา) , ดร.เอกนรินทร์ รอดเจริญ (ม.อ.) และ 2.โครงการทรัพยากรจุลินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในชุมชน คณะผู้วิจัย ดร.สายใจ วัฒนเสน (มรภ.สงขลา) , ดร.สัลวา ตอปี (มรภ.สงขลา) และนางสาวผจงสุข สุธารัตน์ (มรภ.สงขลา) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์หน้าดินและทรัพยากรจุลินทรีย์บริเวณชายฝั่งทะเลเกาะสาหร่าย ในปี 2565 , ระดมความคิดเห็นเพื่อคัดเลือกทรัพยากรที่มีศักยภาพมาใช้ประโยชน์ในชุมชน และจัดทำคู่มือเรื่องเล่าจากเกาะสาหร่าย : คุณค่าของทรัพยากรที่ถูกมองข้าม , ถ่ายทอดความรู้ให้ชุมชน ไกด์ท้องถิ่น นักเรียน และผู้สนใจ และจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย ในปี 2566

โดยมีกิจกรรมตลอดทั้ง 2 วัน (22-23 ธ.ค. 65) ประกอบด้วย การฟังบรรยาย เรื่องสิ่งมีชีวิตชายฝั่งทะเลและการใช้ประโยชน์ โดย ดร.สุเมตต์ ปุจฉาการ และคุณเรืองฤทธิ์ พรหมดำ , การฝึกปฏิบัติการศึกษาสัตว์หน้าดินและจุลทรีย์ โดย ดร.สุเมตต์ ปุจฉาการ และคุณเรืองฤทธิ์ พรหมดำ และทีมวิจัย ในวันที่ 22 ธันวาคม 2565 และการติดตามผลปฏิบัติการ อภิปราย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในวันที่ 23 ธันวาคม 2565