วันพฤหัสบดี, 28 พฤศจิกายน 2567

เครือข่ายการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้เข้ายื่นหนังสื่อกับรองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคลสงขลานครินทร์หลังกังวลเกี่ยวโครงการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สงขลา – ปัตตานีของสภาพัฒน์

เครือข่ายการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ เข้ายื่นหนังสื่อข้อกังวลงานของสภาพัฒน์ โครงการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สงขลา – ปัตตานี กับ รศ.ดร.อุดมผล พืชน์ไพบูลย์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคลสงขลานครินทร์ หน้าสำนักการอธิการบดี วิทยาลัยสงขลานครินทร์ มอ. หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เครือข่ายการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ จำนวน 10 คน นำโดยนายสักริยา อะยามา ประธานกลุ่มอาสาพัฒนาถิ่นจะนะ นายสัมพันธ์ ละอองจิตต์ ที่ปรึกษากลุ่มอาสาพัฒนาถิ่นจะนะ และนายเจะโส๊ะ หัดเหาะ อดีตนายก อบต. ตะลิ่งชัน เป็นตัวแทนเครือข่ายการพัฒนา จชต. แดนใต้ ยื่นหนังสือกับ รศ.ดร.อุดมผล พืชน์ไพบูลย์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ยื่นหนังสือข้อกังวล การจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA)

สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี และให้สั่งการยุติการดำเนินการประเมินสิ่งแวดล้อมฯ ไว้ก่อนเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในการปฏิบัติต่อไป จากการแถลงข่าว ของเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ได้คัดเลือกมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้ดำเนินการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ หรือ SEA สำหรับแผนแม่บทการพัฒนา เชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ซึ่งมติคณะรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำถึงกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกขั้นตอน ต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจที่เหมาะสม และให้ประชาชนทั่วไปและทุกกลุ่มองค์กรที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าถึงและรับทราบกระบวนการต่าง ๆ ในทุก ๆ ขั้นตอนได้ เพื่อให้กระบวนการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายอย่างแท้จริง

นายสัมพันธ์ ละอองจิตต์ ที่ปรึกษากลุ่มอาสาพัฒนาถิ่น อำเภอจะนะ โครงการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ หรือ SEA ที่ห่อประชุมนานาชาติ 60 ปี สงขลานครินทร์ ที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้คัดเลือก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้ดำเนินการจัดทำการประเมินฯ มีข้อสังเกตุพร้อมยื่นหนังสือข้อกังวลการดำเนินการจัดทำ (SEA) ของสภาพัฒน์ฯ ในครั้งนี้ที่แสดงถึงความไม่เป็นธรรม ความไม่โปร่งใส ขาดความรู้และความเข้าใจ การพัฒนาเชิงพื้นที่ ที่สำคัญยังขาดความรู้และเข้าใจในกระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม โดยเฉพาะการศึกษา ที่คาบเกี่ยวกับพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ปรากฏสถานการณ์ความไม่สงบ ซึ่งไม่เป็นไปตาม เจตนารมณ์ของมติคณะรัฐมนตรี และการมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานตั้งแต่เริ่มดำเนินการทำ SEA ที่สำนักงานสภาพัฒน์ฯ กำลังดำเนินการอยู่ ประชาชนอยากทราบว่า ดำเนินการภายใต้กฎหมายใด ที่สำคัญหากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประกอบด้วยจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูล ดำเนินการแล้วไม่ว่าจะสถานะใดก็ตามจะเป็น บรรทัดฐานให้พื้นที่อื่น ๆ ทั้งประเทศไทย จะต้องดำเนินการเช่นเดียวกันด้วยหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อทางเครือข่ายฯ จะได้สื่อสารไปยังหอการค้าไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลอดจน องค์กรภาคเอกชนอื่น ๆ ของประเทศไทย เพื่อให้รับทราบร่วมกันว่าต่อไปนี้ การพัฒนาในพื้นที่ใด ๆ ของประเทศไทย จำเป็นจะต้องมีการศึกษาประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับแผนแม่บทการพัฒนา เชิงพื้นที่เช่นเดียวกันทั้งประเทศ ตามที่ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนดไว้แล้ว ไม่ใช่เลือกดำเนินการเฉพาะโครงการพัฒนาในพื้นที่อำเภอจะนะ เท่านั้น ซึ่งเขตพัฒนาพิเศษจังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี พื้นที่อุตสาหกรรมอำเภอฉลุง หรือ ที่อื่นใดในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ที่มีการพัฒนาก่อนหน้านี้ ได้มีการ SEA ด้วยหรือไม่ ถ้ายังไม่มีพื้นที่ดังกล่าวสามรถดำเนินการ ได้อย่างไร มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ให้มีการศึกษาในพื้นที่เมืองต้นแบบที่ 4 อำเภอ จะนะ จังหวัดสงขลา ที่จะพัฒนาเป็นเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต การกำหนด ขอบเขตการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและ ปัตตานีตามที่สำนักงานสภาพัฒน์ฯ มอบหมายให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดำเนินการนั้น จึงไม่ใช่ เป้าหมายที่แท้จริงของการศึกษาเชิงพื้นที่เนื่องจากพื้นที่อื่น ๆ ในจังหวัดสงขลาและจังหวัดปัตตานี ต้องศึกษา เฉพาะในพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เท่านั้น จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่ที่กระทบต่อ สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงมีนัยของความมั่นคงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่สำนักงานสภาพัฒน์ฯ ซึ่งเป็นหน่วนงานที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในประเด็นการทำงาน อีกทั้งขาดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อการพัฒนาพื้นที่ที่ผ่านมา ต้องให้ข้อมูลความจริงว่า สำนักงานสภาพัฒน์ฯ ไม่เคยทำให้พื้นที่มีความเจริญงอกงามขึ้นมาได้เลย ประชาชนมีแต่จนลง ขาดโอกาสการพัฒนาในทุกด้าน สถานการณ์เศรษฐกิจในพื้นที่มีแต่ถดถอยและล้าหลังการพัฒนาเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น ๆ ประชาชนในพื้นที่ไม่ ไว้วางใจและเชื่อใจการทำงาน สำนักงานสภาพัฒน์ฯ ในวันนี้ ไม่ใช่หน่วยงานที่น่าภาคภูมิใจเหมือนในอดีต ที่มีผลงานการพัฒนาที่เด่นชัด เช่น Eastern Seaboard

ดังนั้นการมีส่วนร่วมต้องมีหลายหน่วยงานและองค์กร โดยเฉพาะหน่วยงานด้านความมั่นคงเข้ามาร่วมมือ 4. กรอบการพัฒนาที่จะดำเนินการนั้น ประชาชนในพื้นที่ไม่รับรู้ รับทราบและไม่เคยได้มี การแจ้งข้อมูลข่าวสารใด ๆ มาก่อน ดังนั้น หากจะดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นนั้น ต้องให้ประชาชน ทุกคนในพื้นที่ รองรับการพัฒนา เข้ามามีส่วนร่วมและร่วมลงฉันทามติร่วมกันแต่แรก เพื่อให้กรอบการทำงานเป็นไปตาม ข้อตกลงร่วมกันของประชาชน การประเมินในครั้งนี้ สำนักงานสภาพัฒน์ฯ มีคำตอบการทำงานที่แน่ชัดแล้วว่า มาจากกลุ่มต่อต้าน ทางเครือข่ายฯ ได้รับทราบจากประชาชนในพื้นที่ว่า ไม่สามารถยอมรับการทำงานได้ โดยเฉพาะการนำทีมคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่มีบทบาทสำคัญในการต่อต้านอย่างชัดเจน เช่น ดร.สินาด ตรีวรรณไชย ผู้ช่วยอธิการบดีผ่านพัฒนาระบบบริหาร ซึ่งเป็นแกนนำต่อต้านคนสำคัญ มาเป็น ผู้ดำเนินการศึกษาในหลากหลายทาง บุคคลดังกล่าว ไม่มีความเป็นกลาง ขอให้ยุติบทบาทของทีมศึกษาทุกคน ที่ไม่มีความเป็นกลางและทบทวนกระบวนการทำงานใหม่

ทางด้านรศ.ดร.อุดมผล พืชน์ไพบูลย์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากการที่ได้มีการประชุมเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา อาจจะทำให้ไม่ให้ความเห็นอย่างเต็มที่ และจะลงไปในพื้นที่เพื่อพูดคุยขอความเห็นของการพัฒนาในพื้นที่ว่า พี่น้องประชาชนจะมีข้อกังวลอะไรบ้างเพื่อนำข้อมูลมาศึกษา ซึ่งทางเราต้องทำและลงไปในพื้นที่อยู่แล้ว หลังจากนี้ทางเรามีแผนที่จะลงไปใน 2 จังหวัด และเป็นพื้นที่ ที่มีความขัดแย้งไปอธิบายเกี่ยวกับงานให้ทราบและทางพี่น้องประชาชนมีความคิดเห็นอย่างไรเพื่อต้องการพัฒนาพื้นที่อย่างไรใน 2 จังหวัด ทั้งสงขลาและปัตตานี โดยที่ทางเราจะมองในด้านสิงแวดล้อมทั้งประเมินด้ายยุทธศาสตร์ว่าจะประเมินอย่างไรที่ทางสภาพัฒน์ ได้ให้ทาง มอ. ศึกษาในลักษณะของแผนในการพัฒนาพื้นที่ทั้ง 2 จังหวัด โดยมองสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก และการพัฒนาอื่น ๆ ตนยอมรับว่าการจัดโครงการที่ผ่านมาทำให้พี่น้องประชาชนยังเข้าใจข้อมูลรายละเอียดไม่เต็มที เป็นเรื่องธรรมดาที่ชาวบ้านต้องกังวล และเราจะลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่เข้าใจในรายละเอียดอีกครั้ง