วันจันทร์, 13 มกราคม 2568

โครงการ “จินตนาการเสรี สื่อละครสร้างสรรค์เพื่อเด็กพิการทางการเห็น” จัดกิจกรรมละครเวทีเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กพิการทางการเห็น โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปี 2566

“ประชาชนเข้าถึง เข้าใจและฉลาดใช้สื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ด้วยนิเวศสื่อที่ดี” คือคำกล่าวของ ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จากวิสัยทัศน์ดังกล่าว จึงเป็นที่มาของ โครงการ “จินตนาการเสรี สื่อละครสร้างสรรค์เพื่อเด็กพิการทางการเห็น” ซึ่งการดำเนินโครงการในครั้งนี้ เพชรรัตน์ มณีนุษย์ ศิษย์เก่าคณะศิลปกรรมศาสตร์สาขาการละคอน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้รับทุนและหัวหน้าโครงการ กล่าวถึงจุดมุ่งหมายสำคัญคือ “การผลิตสื่อสร้างสรรค์ที่เด็กทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม เป็นสื่อที่ สามารถพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ของเด็กพิการทางการมองเห็น และสามารถต่อยอดเป็นสื่อการเรียนการสอน เพื่อสร้างการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน” เนื่องจากเด็กพิการทางการเห็นประสบปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายหรือออกกำลังกายอย่าง จำกัด เพราะไม่สามารถเรียนรู้ วิธีการเคลื่อนไหวอย่างเป็นอิสระได้เหมือนเด็กทั่วไป ส่งผลให้เกิดปัญหาด้าน กล้ามเนื้ออ่อนแรง ขาดความยืดหยุ่น ความคล่องตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ก่อให้เกิดปัญหาด้าน บุคลิกภาพและการเคลื่อนไหวในอนาคต จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องออกแบบกิจกรรมที่เด็กพิการทางการเห็น สามารถฝึกฝนและพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งเด็กพิการทางการเห็นไม่มีทางเลือกในการ รับสื่อสร้างสรรค์ที่หลากหลายมากนัก หรือเมื่อมีกิจกรรมต่าง ๆ เด็กพิการทางการเห็นจะสามารถ นั่งรับฟังเพียง อย่างเดียว ซึ่งขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านอื่น ๆ ที่หลากหลาย จึงเป็นที่มาให้เกิดสื่อสร้างสรรค์ละครเวทีที่ กระตุ้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของเด็กพิการทางการเห็นได้โดยออกแบบให้มีส่วนร่วมในการแสดงแบบ 5 มิติ คือ การมองเห็น การฟัง การได้กลิ่น การชิมรส และการสัมผัส ผู้จัดทำโครงการจึงออกแบบสื่อสร้างสรรค์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) สื่อการแสดงสดในรูปแบบละคร เวทีที่เน้นการมีประสบการณ์ร่วม (Immersive Theatre) และ (2) สื่อละครเสียงและคลิปวิดีโอการเรียนการสอน เพื่อเป็นเครื่องมือให้ครูและผู้ปกครองสามารถนำไปพัฒนาเด็กพิการทางการเห็นได้ด้วยตัวเอง โดยในด้านของการ ออกแบบการแสดงละครที่เน้นให้ผู้ชมมีประสบการณ์ร่วม เนื่องจากเด็กพิการทางการเห็นมีความจ าเป็นอย่างยิ่งใน การเรียนรู้แบบมีประสบการณ์ร่วมเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจและการตีความสภาพแวดล้อมต่าง ๆรอบตัวได้ง่าย ขึ้น ผู้กำกับละครเรื่องนี้จึงออกแบบให้เด็กพิการทางการเห็นมีส่วนร่วมในการแสดง สามารถจินตนาการไปกับ การสมมุติบทบาทเป็นตัวละครต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวและการเรียนรู้ ทักษะชีวิต ส่งเสริมให้เกิด ความมั่นใจในการใช้ชีวิตในสังคมเพิ่มมากขึ้น และหลังจากนั้นจึงได้สรุปองค์ความรู้เป็นคลิปสื่อการเรียนการสอน ในรูปแบบวิดีโอเพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครู ผู้ดูแล และผู้ปกครองสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นกิจกรรมกระตุ้น พัฒนาการและทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กพิการทางการเห็น ที่บ้านหรือที่โรงเรียนได้เอง โดยใช้สื่อละคร สร้างสรรค์ในการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กไห้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากจุดมุ่งหมายสำคัญของโครงการนี ้จะสร้างสื่อที่มีคุณภาพเพื่อเด็กพิการทางการเห็นแล้ว การออกแบบสื่อ วิดีโอคู่มือเป็นสิ่งที่ได้คำนึงให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม สามารถเป็นสื่อการเรียนการสอนที่ครู ผู้ดูแล และผู้ปกครอง สามารถใช้สื่อนี้เพื่อพัฒนาเด็กได้ทุกคน สามารถขยายเป็นสื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ส่ง ต่อความรู้ ได้ไม่จำกัด อีกทั้งเพื่อใช้เป็นต้นแบบ (Guideline) ในด้านการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กได้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ในด้านผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์เชิงชุมชนและสังคมนั้น จะทำให้เกิดการพัฒนา คุณภาพชีวิตผ่านการเสริมสร้างทักษะของเด็กพิการทางการเห็นได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดการสร้างความเท่า เทียมกันในสังคม ในด้านนโยบาย ข้อมูลและแนวทางที่ได้จากโครงการนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำมาใช้ กำหนดเป็นนโยบายในการพัฒนากิจกรรมเพื่อเด็กพิการทางการเห็นและเด็กผู้มีความต้องการพิเศษกลุ่มอื่น ๆ กิจกรรมละครเวทีเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กพิการทางการเห็น จัดแสดงในพื้นที่3 โรงเรียน ดังต่อไปนี้ 1. โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด จังหวัดขอนแก่น จัดแสดงวันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 (เวลา 9.00-12.00 น.)

2. โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดแสดงวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 (เวลา 9.00-12.00 น.)

3. โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ จัดแสดงวันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 (เวลา 9.00-12.00 น.)