วันเสาร์, 11 มกราคม 2568

แม่ทัพน้อยที่ 4 นำคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขฝ่ายเทคนิค ประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งประวัติศาสตร์ กับฝ่ายเทคนิค BRN ที่มาเลเซีย เพื่อวางกรอบแผนการทำงานใน TOR ก่อนร่วมเดินหน้าลดสถานการณ์ความรุนแรงใน จชต.

ในระหว่างวันที่ 19 – 21 พฤษภาคม 2567 พลโท ปราโมทย์ พรหมอินทร์ แม่ทัพน้อยที่ 4 / รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเทคนิคของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข นำคณะฝ่ายเทคนิคประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งแรกกับฝ่ายเทคนิค BRN ที่มาเลเซีย เพื่อวางกรอบแผนการทำงานใน TOR ก่อนร่วมกันเดินหน้าลดสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีการจัดตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์ในช่วงลดความรุนแรง และแผนการหารือสาธารณะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คาดหวังปีกทหาร BRN ขานรับแนวทางการพูดคุยแก้ปัญหาขัดแย้งขององค์กรนำใน BRN

โอกาสนี้ พลโท ปราโมทย์ พรหมอินทร์ แม่ทัพน้อยที่ 4 / รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเทคนิคของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข เปิดเผยระหว่างวันที่ 19 – 21 พฤษภาคม 2567 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ว่า “จะมีการประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการทำ workshop หารือของหัวหน้าฝ่ายเทคนิคจากทั้งสองฝ่าย เพื่อวางกรอบการทำงานร่วมกันใน TOR ซึ่งจะเป็นรายละเอียดที่ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติร่วมกันในช่วงของการลดสถานการณ์ความรุนแรง ซึ่งจะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านสำคัญไปสู่การลงนามในข้อตกลงสันติสุข และเรื่องการจัดตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์ในช่วงที่มีการลดความรุนแรง ส่วนในประเด็นของการหารือสาธารณะ จะมีการพูดคุยในภาพกว้างถึงแนวทางที่จะดำเนินการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้”

 ต่อมา พลโท ปราโมทย์ พรหมอินทร์ แม่ทัพน้อยที่ 4 / รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเทคนิคของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข ได้ชี้แจงถึงการหารือของฝ่ายเทคนิคอยู่ภายใต้ 3 สารัตถะของแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม หรือ JCPP (JOINT COMPREHENSIVE PLAN TOWARDS PEACE) ที่หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขของทั้งสองฝ่าย ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการของการลดความรุนแรง หารือสาธารณะ เปิดเวทีพูดคุย ในเรื่องรูปแบบการกระจายอำนาจหาทางออกจากความขัดแย้ง และโอกาสความเป็นไปได้ในเรื่องการลงนามใน JCPP หลังการหารือในครั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการหารือของฝ่ายเทคนิค จะสามารถได้ข้อยุติร่วมกันในรายละเอียดของทั้ง 3 สารัตถะหรือไม่ หากยังไม่สามารถลงนามใน JCPP กระบวนการสร้างสันติสุขในช่วงแรก ที่จะเริ่มจากการลดความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่คาดว่าจะใช้เวลา 3 – 4 เดือน ก็ยังเกิดขึ้นไม่ได้

 โดย พลโท ปราโมทย์ พรหมอินทร์ แม่ทัพน้อยที่ 4 / รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเทคนิคของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข คาดหวังในการพูดคุยครั้งนี้ คนไทยทั่วประเทศทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะช่วยหนุนเสริมในกระบวนการพูดคุย และมีความหวังในเรื่องเอกภาพของ BRN ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตปีกทหารไม่เห็นด้วยกับการพูดคุยของฝ่ายการเมือง จากการก่อเหตุความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่องในระหว่างช่วงที่มีการพูดคุย ซึ่งในการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ คาดหวังทั้งสองฝ่ายจะบรรลุข้อตกลงร่วมกันในแผน JCPP สามารถขับเคลื่อนสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สามารถปฏิบัติได้จริง ตอบสนองต่อความต้องการของพี่น้องประชาชน และความคาดหวังของประชาชนทั้งในและนอกจังหวัดชายแดนภาคใต้

 ทั้งนี้ พลโท ปราโมทย์ พรหมอินทร์ แม่ทัพน้อยที่ 4 / รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเทคนิคของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางไปร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการที่มาเลเซีย ถึงหัวเรื่องพูดคุยของฝ่ายเทคนิคในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จะประกอบด้วยหัวเรื่อง 3 เรื่องหลัก ดังนี้

 1. ภายหลังการประชุมคณะเทคนิคครั้งที่ 3 ช่วงปลายเดือนเมษายน คณะทำงานเทคนิคฝ่ายไทยได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ work shop มีการจัดประชุม 8 – 9 พฤษภาคม 2567 ได้เชิญหน่วยราชการในพื้นที่ มีทั้งฝ่ายปกครอง ตำรวจ จากภูธรภาค 9 ผู้แทนของหน่วนเฉพาะกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง มาร่วมประชุมกันที่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยประเด็นที่คณะกรรมการจัดประชุมหารือในครั้งนั้น ก็มี 3 ประเด็นใหญ่ ๆ

 ในประเด็นที่ 1) การให้แต่ละหน่วยมาร่วมกันพิจารณาในเรื่องการลดความรุนแรงของทั้งสองฝ่าย,

 ในประเด็นที่ 2) การจัดทำTOR ของกลไกในการติดตามสถานการณ์ ต้องมีรายละเอียดในการติดตามสถานการณ์ในแต่ละระดับต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง ทั้งในเรื่องของคณะทำงานมีอย่างไรบทบาทหน้าที่ กลไกการบริหารจัดการเป็นอย่างไรบ้าง ในเบื้องต้นได้มีการสรุปเป็นแนวทางไว้ ,

 ในประเด็นที่ 3) การเตรียมแนวทางในการปรึกษาหารือสาธารณะ เตรียมการในภาพกว้าง ในขั้นตอนของการปรึกษาหารือสาธารณะ จะต้องมีการศึกษารูปแบบในการปรึกษาหารือสาธารณะอย่างไร มีรายละเอียดปลีกย่อยที่จะต้องมาเตรียมดำเนินการ

 ซึ่งทั้ง 3 ประเด็นคณะกรรมการทางเทคนิคจะนำไปร่วมประชุมกับคณะพูดคุยฯ ฝ่ายเทคนิคของ BRN ที่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2567 นี้ ในเรื่องของการลดความรุนแรง เราได้มีการทำแผ่นชาร์จ ทำรายละเอียด บทบาทหน้าที่การบริหารจัดการ ส่วนในเรื่องการปรึกษาหารือสาธารณะ จะเป็นภาพกว้าง ๆ และเราจะทำอะไรกันบ้าง

 2. ความคาดหวังในการพูคุยของฝ่ายเทคนิคในครั้งนี้ ซึ่งความคาดหวังในส่วนของประชาชนคนไทยทั่วประเทศทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความเข้าใจในกระบวนการพูดคุย เราได้ใช้กลไกในการพูดคุยระดับพื้นที่และหน่วยงานต่าง ๆ มาช่วยในการสร้างความเข้าใจ คาดหวังในส่วนที่พี่น้องประชาชนจะหนุนเสริมในกระบวนการพูดคุย ยังคาดหวังว่ากองกำลังของ BRN ที่ใช้ความรุนแรงในพื้นที่ เห็นด้วยกับการพูดคุยลดระดับการใช้ความรุนแรงในพื้นที่ เพื่อมาหนุนเสริมการพูดคุยในเรื่องความเป็นเอกภาพของขบวนการ BRN ระหว่างสภาองค์กรนำและกองกำลังในพื้นที่ ให้สามารถที่จะสื่อสารกันได้ ที่สำคัญสุดในการเดินทางไปประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ คาดหวังที่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันในแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม หรือ JCPP (JOINT COMPREHENSIVE PLAN TOWARDS PEACE) และสามรถนำไปสู่การลงนามแผน JCPP ขับเคลื่อนสันติสุขที่สามารถปฏิบัติได้จริง และตอบสนองต่อความต้องการของพี่น้องประชาชน และความคาดหวังของประชาชน ทั้งในและนอกจังหวัดชายแดนภาคใต้

 3. มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงไรที่การพูดคุยครั้งนี้จะนำไปสู่การลงนามใน JCPP ซึ่งยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกเยอะ โดยจะต้องมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการตามหัวข้อที่ได้ชี้แจงก่อนที่จะนำไปสู่การลงนามใน JCPP ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีการบรรลุข้อตกลงร่วมกันใน 3 ประเด็นใหญ่ ต้องมีการลงรายละเอียดค่อนข้างมาก สิ่งที่เป็นไทม์ไลน์ที่เราได้มีการกำหนดเวลาร่วมกัน คือ กรอบระยะเวลาในการลดความรุนแรง ก่อนที่จะมีการเริ่มต้นในเรื่องการลดความรุนแรง มันจะต้องมีการดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 2 เรื่องก่อน ในเรื่องแรก คือ จะต้องจัดทำ TOR กลไกติดตามสถานการณ์ให้แล้วเสร็จ ในส่วนเรื่องที่ 2 คือ ต้องบรรลุข้อตกลงในรายละเอียดในเบื้องต้นตามที่มีการกำหนดไว้ของทั้งสองฝ่าย

 พลโท ปราโมทย์ พรหมอินทร์ แม่ทัพน้อยที่ 4 / รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเทคนิคของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข กล่าวเพิ่มเติมว่า “จะต้องมีการลงนามใน JCPP ก่อนที่ทั้งสองฝ่ายจะเริ่มต้นขับเคลื่อนสร้างสันติสุข เริ่มจากการลดสถานการณ์ความรุนแรงจากทั้งสองฝ่าย ถูกต้องครับ เมื่อมีการลงนามแล้วกระบวนการในการจัดทำTOR กลไกติดตามสถานการณ์ก็ต้องมีการดำเนินการให้แล้วเสร็จถึงจะนำไปสู่การดำเนินการในขั้นตอนที่ 1 ในระยะที่ 1 คือการลดระดับความรุนแรงครับ”