วันที่14 ธันวาคม 2564 – บริษัท เวียตเจ็ท เอวิเอชั่น จอยท์ สต๊อค (HoSE: VJC) เผยรายงายงบการเงินไตรมาสสาม ประจำปี 2564 รายงานรายได้จากการให้บริการขนส่งทางอากาศมากกว่า 59.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.975 พันล้านบาท) โดยมีรายได้สะสมมากกว่า 277 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 9.24 พันล้านบาท) ขณะที่กำไรขั้นต้นมากกว่า 1.93 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 64.39 ล้านบาท) ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2564
ในรายงานงบการเงินรวม เวียตเจ็ทมีรายได้ในไตรมาสสาม ปี 2564 อยู่ที่ 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.83 พันล้านบาท) และรายได้สะสมตลอดเก้าเดือนแรกของปี 2564 อยู่ที่ 442.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.47 หมื่นล้านบาท)
เมื่อสิ้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา สินทรัพย์รวมของเวียตเจ็ทมีมูลค่ากว่า 2.21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 7.37 หมื่นล้านบาท) ทั้งนี้ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนยังคงอยู่ในอัตราต่ำ ที่ 0.8 ขณะที่อัตราส่วนสภาพคล่อง อยู่ที่ 1.06 ซึ่งตัวเลขทั้งสองถือว่าอยู่ในอัตราส่วนที่ปลอดภัยและถือเป็นตัวชี้วัดที่ดีในอุตสาหกรรมการบิน
ตลอดช่วงระยะเวลาเก้าเดือนที่ผ่านมา เวียตเจ็ทได้ขนส่งผู้โดยสารแล้วกว่า 6.4 ล้านคน บนกว่า 37,000 เที่ยวบิน ด้วยอัตราการตรงต่อเวลา (OTP) ถึง 99.7% โดยให้บริการภายใต้มาตรการรักษาความสะอาดอย่างเคร่งครัด
นอกจากนี้ เวียตเจ็ทยังได้ขนส่งบุคลากรทางการแพทย์ ทหาร และตำรวจ กว่าหลายหมื่นราย รวมทั้งวัคซีนหลายล้านโดส พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์อีกนับไม่ถ้วน บนเที่ยวบินของสายการบินฯ ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศเวียดนาม เพื่อร่วมต่อสู่กับการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ในหลากหลายพื้นที่
เวียตเจ็ทยังได้ฉลองครบรอบหนึ่งปีของศูนย์บริการภาคพื้นเวียตเจ็ท (VJGS) ซึ่งให้บริการผู้โดยสารแล้วกว่า 4.5 ล้านคน บน 25,217 เที่ยวบิน พร้อมขนส่งสินค้าทางอากาศกว่า 64,031 ตัน ด้วยเหตุนี้ รายได้ของส่วนประกอบหรือรายได้พิเศษที่ไม่ได้มาจากการขายตั๋วโดยสารจึงทะลุกว่าร้อยละ 112.43 จากเป้าที่วางไว้ ศูนย์บริการภาคพื้นเวียตเจ็ทได้เป็นเครื่องพิสูจน์สมรรถภาพของเวียตเจ็ทในแง่งานปฏิการภาคพื้น และจะเป็นก้าวที่สำคัญในการเติมเต็มห่วงโซ่อุปทานของเวียตเจ็ทในอุตสาหกรรมการบินเพื่อยกระดับคุณภาพบริการพร้อม ๆ กับบริหารต้นทุนได้อย่างดี
เวียตเจ็ทได้ลงทุนอย่างมากในการบูรณาการเทคโนโลยีและการพัฒนาสู่โลกดิจิทัล โดยมุ่งพัฒนาระบบปฏิบัติการอย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมบริหารจัดการเชื้อเพลิงและต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพในไตรมาสที่สามที่ผ่านมา
ขณะเดียวกันสถาบันการบินเวียตเจ็ท (VJAA) ได้เพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-learning) เพื่อลดต้นทุนและป้องกันความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัส โดยพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้กว่าหลายร้อยหลักสูตรแก่ผู้เรียนกว่า 5,700 คน ครอบคลุมหลักสูตรที่ออกแบบเพื่อนักบิน ลูกเรือ พนักงานอำนวยการบิน วิศวกร และพนักงานบริการภาคพื้น
ในแง่พันธมิตร เวียตเจ็ทได้ลงนามข้อตกลงทางยุทธศาสตร์กับแอร์บัส (Airbus) ในการส่งมอบอากาศยานกว่า 119 ลำภายในสิ้นปี 2028 โดยจะร่วมกันพัฒนาฝูงบินอากาสยานลำตัวกว้างของเวียตเจ็ท นอกเหนือจากให้บริการบำรุงรักษาอากาศยานและการอบรบนักบินในช่วงหลังการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19
ปัจจุบัน เวียตเจ็ทได้กลับมาให้บริการทุกเที่ยวบิน เชื่อมต่อนครโฮจิมินห์และกรุงฮานอยกับหลากหลายเมืองในเวียดนามเพื่อตอบรับกับความต้องการเดินทางที่มากขึ้น โดยเตรียมพร้อมกลับมาให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์ระหว่างประเทศเร็ว ๆ นี้
เร็ว ๆ นี้ เวียตเจ็ทได้ประกาศแผนการเตรียมพร้อมให้บริการสามเส้นทางบินตรง เชื่อมต่อระหว่าง กรุงฮานอย นครโฮจิมินห์ และ ญาจาง กับ กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย โดยจะเริ่มให้บริการในกลางปี 2565 ด้วยอากาศยานแบบแอร์บัส A330-300 นับเป็นก้าวสำคัญที่แสดงถึงความตั้งใจของเวียตเจ็ทในการเข้าสู่ตลาดยุโรป เติมเติมอุปทานการเดินทางระหว่างประเทศเวียดนามกับโลกภายนอก อันจะมีผลอย่างมากในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม