วันจันทร์, 13 มกราคม 2568

เทศบาลเมืองบ้านพรุจัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นและทำความเข้าใจกับประขาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ในโครงการกำจัดขยะมูลฝอย เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากชุมชน

วันที่ 18เมษายน 2567 เวลา 13:30 น. ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลเมืองบ้านพรุ ชั้น 5 นายวินัย รัตนพันธ์ นายกเทศมนตรีเมืองบ้านพรุ พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร , หัวหน้าส่วนราชการ , สมาชิกสภาเทศบาลเมืองบ้านพรุ ร่วมกับนายสาโรจน์ รัตนพันธ์ นายกเทศมนตรีตำบลบ้านไร่พร้อมคณะฯ , ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบ้านไร่ และประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ และคณะทำงาน บริษัท พลังงานพัฒนา 5 จำกัดร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นและทำความเข้าใจกับประขาชนและผู้มีส่วนได้เสียในโครงการกำจัดขยะมูลฝอย เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากชุมชน เทศบาลเมืองบ้านพรุ จังหวัดสงขลา

โดยจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่มีส่วนร่วมระหว่าง เทศบาลเมืองบ้านพรุ และเทศบาลตำบลบ้านไร่ ในละแวกใกล้เคียง ที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าประเภทเผาไหม้จากขยะมูลฝอย โดยเปิดให้ประชาชนในการรับฟังความคิดเห็น และชี้แจงวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าฯ. โดยการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมเสนอข้อเสนอแนะร่วมกัน โดยมีประชาชนเข้าร่วมกันอย่างมากมาย พร้อมเสนอแนะข้อคิดเห็นให้ทาง บริษัท รับไปพิจารณา เพื่อให้ก่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในเขตพื้นที่ที่ใช้งานร่วมกันต่อไป.

เทศบาลเมืองบ้านพรุ มีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยเป็นบ่อฝั่งกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfill) บนพื้นที่ 107ไร่ 35ตารางวาได้มีการศึกษาออกแบบก่อสร้าง เบ่งเป็น 5 ระยะ ที่ผ่านมาทศบาลเมืองบ้านพรุ ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างไปแล้ว 3 ระยะ (บ่อที่ 1-3)เปิดใช้ฝังกลบขยะบ่อที่ 1 ในปี พ.ศ.2542-2550 บ่อที่ 2 ในปี พ.ศ.2550-2558 และบ่อที่ 3 เริ่มใช้ฝังกลบขยะมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 ปัจจุบันได้ใช้ฝังกลบขยะมูลฝอยในชั้นที่ 7 ซึ่งเป็นชั้นสุดท้ายคาดว่าจะใช้ได้อีกไม่เกิน 1 ปี

เนื่องจากการกำจัดขยะมูลฝอยด้วยการฝังกลบมีการใช้พื้นที่นจำนนมากประกอบกับไม่มีการคัดแยกขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์ก่อนนำส่วนที่เหลือฝั่งกลบ จึงส่งผลให้นที่ฝังกลบถูกใช้ประยชน์ไปอย่างรวดเร็วกว่าที่ออกแบบไว้ ดังนั้น การเพิ่มประสิทธิภาพระบบกำจัดขยะโดยการคัดแยกนำกลับมาใช้ประโยชน์ เช่น การคัดแยกขยะเพื่อแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงขยะ หรือแปลงสภาพนำไปผลิตพลังงานไฟฟ้า ด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะช่วยลดปริมาณยะมูลฝอยที่ต้องไปฝังกลบ และยืดอายุการใช้พื้นที่บ่อฝังกลบ