วันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 สื่อช่องดังของประเทศมาเลเซีย ทั้งสื่อหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ อย่าง Exclusive !! New Straits Times และ Hot News !! Astro Awani สถานีโทรทัศน์ชื่อดัง ได้เผยแพร่ข่าว เกี่ยวกับความจริงจากเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยมี 2 อดีตนักโทษ กล่าวสารภาพยอมรับผิด และขออภัยต่อครอบครัวของผู้สูญเสีย จำนวน 78 ราย จากผลการกระทำความผิดของพวกเขา ในโศกนาฏกรรมตากใบ เมื่อปี พ.ศ. 2547
โดยสื่อหนังสือพิมพ์ ได้นำเสนอบทการสัมภาษณ์ของอดีดนักโทษสองราย ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทกัน นามสมมุติว่า นายโอมาร์ และนายอาบู โดยนายโอมาร์ ได้เล่าว่า “ขออย่าให้เกิดโศกนาฏกรรมเช่นนี้อีก บางครั้งชาวบ้านก็ถูกหลอก และถูกชักจูงได้ง่ายด้วยข่าวลือและข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง การลงโทษที่พวกเขาได้รับนั้นเพียงพอแล้วสำหรับ “ความผิดบาป” ของพวกเขา และตั้งแต่นั้นมา พวกเขาก็กลับเนื้อกลับตัว พวกเขาให้ข้อมูลว่า พวกเขาถูกหลอกใช้จาก “กลุ่มคนบางกลุ่ม” เพื่อให้แจ้งข่าวเท็จ หรือข่าวลือ แก่ชาวบ้านในพื้นที่อำเภอตากใบ เป็นสาเหตุที่ทำให้ชาวบ้านถูกหลอกให้ออกมารวมตัวกัน (รวมกลุ่มชุมนุมประท้วง) ”
พวกเขาได้เล่าถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า ขณะที่เขาทำงานเป็นชุดรักษาความปลอดภัยประจำหมู่บ้าน “เราสองคนและสมาชิกคนอื่น ๆ ของชุดรักษาความปลอดภัยประจำหมู่บ้าน ได้รับคำสั่งให้เชิญชวนชวนชาวบ้านให้มารวมตัวกัน ณ ที่ว่าการอำเภอตากใบ เพื่อร่วมกิจกรรมที่จะจัดขึ้นโดยฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ”
“จากนั้น เราก็เชิญชวนผู้คน เพื่อให้มารวมตัวกัน โดยแจ้งว่าจะมีการละศีลอดร่วมกับผู้นำชุมชน ณ ที่ว่าการอำเภอตากใบ พวกเราไม่ได้บอกกับชาวบ้านว่าให้ออกมาชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยตัวผู้ต้องสงสงสัยทั้ง 6 คนที่ถูกจับกุมก่อนหน้านี้ และในวันนั้น (เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547) มีชาวบ้านประมาณ 1,500 คน มารวมตัวกัน ณ ที่ว่าการอำเภอตากใบ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีตำรวจภูธรตากใบ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 11.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศไทย)”
นายอาบู วัย 55 ปี กล่าวว่า เขาถูกจับกุมเมื่อปี พ.ศ. 2551 และได้รับโทษจำคุก 12 ปี ฐานความผิดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อเหตุโศกนาฏกรรมดังกล่าว “เราไม่รู้เลยว่า ใครเป็นผู้สั่งการให้เราแจ้งข่าวสารเท็จ ในลักษณะของข่าวลือแก่ชาวบ้าน และเราไม่ได้คาดหวังว่า จะเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงใดๆ เลย เราเพียงแค่ต้องการให้เกิดการชุมนุมประท้วง เพื่อกดดันให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 6 คน ซึ่งถูกจับกุมก่อนหน้านี้”
นายโอมาร์ กล่าวว่า พวกเขาตระหนักดีว่าครอบครัวของผู้เสียชีวิต และผู้ที่ได้รับผลกระทบ อาจจะรู้สึกไม่พอใจต่อพวกเขา ทั้งนี้ พวกเขาเองก็ไม่ได้ตำหนิครอบครัว หรือเครือญาติของกลุ่มคนข้างต้นที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว
“เราหวังเพียงแต่ว่า พวกเขาจะให้อภัยพวกเราในสักวันหนึ่ง โทษจำคุกถือเป็นการลงโทษที่พวกเราได้รับผลจากการกระทำความผิดไปแล้ว” ชายวัย 54 ปี ซึ่งถูกศาลตัดสินจำคุกหลังถูกจับกุมในปี พ.ศ.2553 กล่าวสารภาพ
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงประมาณ 1,500 คน รวมตัวกันที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ เพื่อประท้วงการควบคุมตัวชายผู้ต้องสงสัย จำนวน 6 คน โดยฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการตอบโต้ด้วยการใช้แก๊สน้ำตา และปืนฉีดน้ำ เมื่อฝูงชนเริ่มพยายามบุกรุกเข้าไปในสถานีตำรวจ
ขณะที่ความตึงเครียดเพิ่มสูงขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ยิงปืนขึ้นฟ้า และเริ่มสลายการชุมนุมของฝูงชน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย ผู้ถูกควบคุมตัวส่วนใหญ่ถูกวางทับซ้อนกันบนรถบรรทุก และถูกเคลื่อนย้ายไปยังค่ายอิงดยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี
เมื่อสิ้นสุดการสำเลียงที่ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 5 ชั่วโมง ซึ่งต่อมาพบว่า มีผู้ถูกควบคุมตัว 78 ราย เสียชีวิตจากภาวะการขาดอากาศหายใจ ผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในเหตุการณ์ดังกล่าวจำนวนหลายราย ได้ถูกจับกุมในเวลาต่อมา
พวกเขายังเล่าอีกว่า “เมื่อถูกจำคุกเป็นเวลานาน ได้พบเจอกับคนนั้นคนนี้ ทำให้ได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่กระทำลงไปนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เมื่อเจอกลุ่มเพื่อน ๆ ในขบวนการ BRN จึงบอกกับพวกเขาไปว่าเราไปต่อไม่ได้แล้ว เพราะเรามีทัศนคติที่ต่างกัน และหลังจากนั้นก็ถูกเพื่อน ๆ ในขบวนการ BRN มองว่า เป็นผู้แปรพักตร์ และรู้สึกว่าชีวิตของตนเองเหมือนตกอยู่ในอันตรายตลอดเวลา แต่ที่ตนเองมาเปิดใจพูดคุยกับสื่อในครั้งนี้ได้เพราะในตอนนี้ตนเองเป็นผู้กลับตัวกลับใจแล้ว”
สืบเนื่องจากโศกนาฎกรรมดังกล่าว ครอบครัวของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ใด้ยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐ 7 นาย ซึ่งรวมถึง พลเอก พิศาล วัฒนวงษ์คีรี แม่ทัพภาคที่ 4 ในขณะนั้น โดยพนักงานอัยการมีคำสั่งให้ดำเนินดดีที่ศาลจังหวัดปัตตานี
อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์รายงานเมื่อเดือนที่แล้วว่า ศาลได้ประกาศให้คดีนี้สิ้นสุดลง โดยอัดโนมัติเนื่องจากขาดอายุความ ด้วยจำเลยทั้งเจ็ด ไม่มารายงานตัวต่อศาล ภายในระยะเวลาที่กำหนด ศาลวินิจฉัยว่า คดีได้สิ้นสุดลง เนื่องจากคดีนี้มีอายุความครบ 20 ปี และหมายจับที่ออกไปนั้นจะไม่มีผลบังคับใช้ในทางกฎหมายอีกต่อไป การพิจารณาคดีในครั้งล่าสุด มีโจทก์จำนวน 48 คน และทนายความ รวมถึงผู้สนับสนุนด้านสิทธิ์มนุษยชนเข้าร่วมรับฟังการพิจารณาคดี ภายใต้มาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด
สามารถรับชมข้อมูลข่าวสารได้จาก
https://www.nst.com.my/…/two-ex-convicts-seek…
และสามารถรับชมคลิปได้จาก
https://www.youtube.com/watch?v=OQdEearh9ek&t=1s
ขอขอบคุณแหล่งข่าว : แปลและเรียบเรียงข่าว ตอริก สหสันติวรกุล รายงาน
https://www.thestringertoday.com/?p=9592&=1