วันนี้ ( 9 กันยายน 2567 ) เวลา 09.30 น. ที่ศูนย์พัฒนาทักษาะภาษาเพื่อการสื่อสาร โรงเรียนอามานะศักดิ์ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี นายนิกร เซ้งเถียร ผู้อำนวยการศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมด้วย บุคลากรกลุ่มส่งเสริมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ติดตามการขยายผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาทักษะ เพื่อการสื่อสารในโครงการส่งเสริมการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในจังหวัดชายแดนใต้ กิจกรรมที่ 3 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยกิจกรรม ประกอบด้วย พิธีเปิดศูนย์ฯ เปิดบ้าน สร้างการรับรู้ และกิจกรรมส่งเสริมการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้ผู้รับบริการ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน มีส่วนร่วม รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนอายุ 4 – 7 ปี ได้แสดงความสามารถด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน การเล่านิทาน การสื่อสารต่าง ๆ โดยจัดให้ผู้ปกครอง ประชาชน ชุมชน มีส่วนร่วม และถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้
สำหรับการจัดตั้งศูนย์พัฒนาทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเปิดศูนย์สร้างการรับรู้ ให้ผู้รับบริการ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม โดยการนำสื่อนวัตกรรมที่หลากหลาย มาใช้ในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้รับบริการ และบริบทชุมชน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ ซึ่งผลจากการขับเคลื่อนแต่ละศูนย์ส่งผลให้เด็ก ผู้ปกครอง และผู้รับบริการ สามารถอ่านออกเขียนได้ สื่อสารได้ ซึ่งได้รับความร่วมมือในการลงพื้นที่จาก ผู้แทนต้นสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 , ผู้แทนจาก กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ในการติตตาม ให้กำลังใจการปฏิบัติงานของบุคลากรและผู้รับบริการภายในศูนย์ ฯ อย่างต่อเนื่อง โดยมี นางสาว ชญาดา เก้าเอี้ยน นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการพิเศษ และคณะ ให้การต้อนรับ
ทั้งนี้ พัฒนาการด้านภาษา เป็นกระบวนการที่คนในสังคมปรับตัวและพัฒนาทักษะการใช้ภาษาในด้านต่าง ๆ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้การสื่อสาร พูด อ่าน เขียน ซึ่งมีการปรับปรุงตามเวลา โดยปัจจัยหลายอย่างส่งผลต่อการพัฒนาภาษา เช่น ประสบการณ์การเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม การถูกแปลงภาษาตลอดเวลา และการมีโอกาสในการปฏิบัติตนในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ภาษาเป็นสื่อสารหลัก ซึ่งต้องปูพื้นฐานมาตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต การพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก จึงมีความสำคัญมาก ไม่สามารถปล่อยปละละเลยได้ เนื่องจากภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสาร การเรียนรู้ และการเข้าสังคม การพัฒนาภาษาของเด็กเล็ก มีความสำคัญต่อพัฒนาทั้งกายและจิตใจ ที่จะสามารถนำไปต่อยอดการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน