วันอาทิตย์, 12 มกราคม 2568

รอง มทภ.4 เป็นประธานพิธี ปิดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ติดตามความก้าวหน้าขับเคลื่อนฮูกุมปากัต 9 ดี ในสถานศึกษา (กม.น้อย) นำร่อง รร.ในพื้นที่ปัตตานี เพื่อขยายผลสู่การสร้างความเข้มแข็ง

วันนี้ (31 พฤษภาคม 2567) เวลา 12.30 น. ที่โรงแรม บีพี สมิหลา บีช อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา พลตรี ไพศาล หนูสังข์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 / รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เป็นประธานพิธีปิดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อติดตามความก้าวหน้าผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานตามนโยบายยุทธศาสตร์ชาติ บูรณาการขับเคลื่อนฮูกุมปากัต (ธรรมนูญหมู่บ้าน) 9 ดี ในสถานศึกษา (กม.น้อย) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30-31 พฤษภาคม 2567 ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย เจ้าหน้าที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา, สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด, ศูนย์ปฏิบัติการอำเภอทั้ง 6 อำเภอ, บุคลากรสถาบันการศึกษา, ผู้แทนภาคประชาชนจาก 9 ตำบล ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี เข้าร่วม จำนวน 100 คน โดยมี ผู้บังคับบัญชา กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า, วิทยากร, หัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่ ส่วนพัฒนายุทธศาสตร์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เข้าร่วมฯ

ด้าน พลตรี ไพศาล หนูสังข์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวว่า การสัมมนาวันนี้ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สถานศึกษานำร่องทั้ง 9 แห่งได้นำฮูกุมปากัต 9 ดี มาปรับใช้อย่างเหมาะสมกับงานการศึกษาเป็นการร่างคู่มือคณะกรรมการหมู่บ้านน้อยหรือกฎหมายน้อยช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สร้างการเรียนรู้เข้าถึงบริการของภาครัฐ ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข อย่างเป็นรูปธรรมซึ่งมีความเชื่อมั่นว่าเด็กและเยาวชนที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้แล้ว จะเป็นผู้ใหญ่ที่จะรับทราบสวัสดิการที่รัฐดูแลประชาชนตั้งแต่เกิดเข้าใจและเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชน หมู่บ้านอย่างแท้จริงต่อไป

สำหรับการขับเคลื่อนฮูกุมปากัต (ธรรมนูญหมู่บ้าน) 9 ดี สืบเนื่องจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับ องค์การยูนิเซฟประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัดทำรายงานสถานการณ์ด้านเด็กและสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่าปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สำคัญคือปัญหาความยากจน และด้านการศึกษาที่เกิดขึ้นในเด็กช่วงอายุต่ำกว่า 5 ปี และเด็กในช่วงอายุ 6-15 ปี โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดการสมัมนาทบทวนติดตามและประเมินผลการบูรณการแผนแม่ยท ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ บูรณาการขับเคลื่อนฮูกุมปากัต (ธรรมนูญหมู่บ้าน) 9 ดี ภายใต้สิทธิสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานขับเคลื่อนมีความสอดคล้องและยั่งยืน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ได้กำหนดจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการฯในวันนี้ขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจและจัดทำเอกสารคู่มือฮูกุมปากัต (ธรรมนูญหมู่บ้าน) 9 ดี ในสถานศึกษา 9 ตำบลนำร่อง และหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้ รร.บ้านปาเระ เป็นต้นแบบคณะกรรมการหมู่บ้าน เด็กและเยาวชน (กม.น้อย) ให้สถานศึกษา 9 ตำบลนำร่องและหน่วยงานทางการศึกษาได้มีความเข้าใจการเข้าถึงบริการของภาครัฐ (พม.) เติมเต็มช่องทางให้กับนักเรียนในโรงเรียน ตลอดจนบูรณาการสร้างความเข้าใจเรื่องฮูกุมปากัต คณะกรรมการหมู่บ้านเด็กและเยาวชน (กม.น้อย) กับองค์การยูนิเซฟแห่งประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

โดยการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมได้ร่วมการเสวนาและบรรยายหัวข้อ “การเข้าถึงบริการของภาครัฐ” เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน สตรีและกลุ่มเปราะบางในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ทราบถึงสิทธิ สวัสดิการ และเครื่องมือในการช่วยเหลือของรัฐเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนจากครรภ์มารดาจนถึงเสียชีวิต และคุณครูสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้แก่เด็กนักเรียนหรือผู้ปกครอง เมื่อมีปัญหาความเดือดร้อน และร่วมกันระดมสมองจัดทำ (ร่าง) คู่มือฮูกุมปากัต (ธรรมนูญหมู่บ้าน) 9 ดี ในสถานศึกษา (กม.น้อย) เพื่อนำร่างคู่มือดังกล่าวมอบให้ศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำไปขยายผลกำหนดฉันทามติความเห็นชอบร่วมกันของโรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้และออกเป็นพันธสัญญาให้นักเรียนในโรงเรียนถือปฏิบัติต่อไป