วันจันทร์, 2 ธันวาคม 2567

ย่านาง

ย่านาง

ย่านาง ชื่อสามัญ Bai-ya-nang (ตรงตัว)
ย่านาง ชื่อวิทยาศาสตร์ Limacia triandra Miers (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cocculus triandrus Colebr., Menispermum triandrum Roxb., Tiliacora triandra Diels) จัดอยู่ในวงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE)

ทางภาคกลางจะเรียกย่านางว่า “เถาย่านาง” เนื่องจากพรรณไม้ชนิดนี้เป็นเถาไม้เลื้อยเกี่ยวพันกับต้นไม้อื่น

ใบย่านาง สรรพคุณนั้นมีหลากหลาย เพราะเป็นสมุนไพรเย็น มีคลอโรฟิลล์สดจากธรรมชาติ และยังมีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายอีกมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีนในปริมาณค่อนข้างสูง โดยเป็นสมุนไพรที่ใครหลาย ๆ คนต่างก็คุ้นเคยกันดี เพราะนิยมนำมาเป็นเครื่องปรุงรสช่วยเพิ่มความกลมกล่อมของอาหาร เช่น แกงหน่อไม้ ซุปหน่อไม้ แกงเลียง แกงหวาน เป็นต้น
สรรพคุณใบย่านาง
ใบย่านาง ในตำราสมุนไพรจัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะ
มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก จึงช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วและความแก่ชราอย่างได้ผล
ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคในร่างกาย
ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
ช่วยฟื้นฟูเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
ช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย
เป็นสมุนไพรที่ช่วยในการลดความอ้วนได้อย่างเห็นผลและปลอดภัย
ช่วยในการเผาผลาญไขมันและนำไปใช้เป็นพลังงาน
ช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ
เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็นเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งอย่างมาก

หากดื่มน้ำใบย่านางเป็นประจำ ก้อนมะเร็งจะฝ่อและเล็กลง
ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
ช่วยในการบำรุงรักษาตับและไต
ช่วยรักษาและบำบัดอาการอัมพฤกษ์
ช่วยแก้อาการอ่อนล้า อ่อนเพลียของร่างกายที่แม้นอนพักก็ไม่หาย
ช่วยรักษาอาการเกร็ง ชัก หรือเป็นตะคริวบ่อย ๆ
ช่วยแก้อาการเจ็บเหมือนมีไฟช็อต หรือมีเข็มแทง หรือมีอาการร้อนเหมือนไฟ
ช่วยป้องกันไม่ให้เส้นเลือดฝอยในร่างกายแตกใต้ผิวหนังได้ง่าย
ช่วยรักษาอาการตกกระที่ผิวเป็นจ้ำ ๆ สีน้ำตาลตามร่างกาย
ช่วยรักษาเนื้องอก
ช่วยรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียนได้
ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ ไอจาม มีน้ำมูก และเสมหะ
รากแห้งใช้ในการแก้ไข้ทุกชนิดและลดความร้อนในร่างกาย
รากของย่านางสามารถแก้ไข้ได้ทุกชนิด ทั้งไข้พิษ ไข้หัด ไข้เหนือ ไข้ผิดสำแดง เป็นต้น
เถาย่านางมีส่วนช่วยในการลดความร้อนและแก้พิษตานซาง
มีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย
ช่วยรักษาอาการร้อนแต่ไม่มีเหงื่อ
ช่วยรักษาอาการของโรคเบาหวาน ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
มีส่วนช่วยอาการปวดตึง ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดชาบริเวณต่าง ๆ
ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้
รากของย่านางช่วยแก้อาการเบื่อเมา
ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบอย่างรุนแรงและเรื้อรัง
ช่วยแก้อาการง่วงนอนหลังการรับประทานอาหาร
ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล
ช่วยในการบำรุงสายตาและรักษาโรคเกี่ยวกับตา เช่น ตาแดง ตาแห้ง ตามัว แสบตา ปวดตา ตาลาย เป็นต้น
ช่วยรักษาอาการปากคอแห้ง ริมฝีปากแตกหรือลอกเป็นขุย
ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น มีสีเหลืองหรือเขียว หรืออาการเสมหะพันคอ
ช่วยบำบัดอาการของโรคไซนัสอักเสบ
ช่วยลดอาการนอนกรน

ช่วยแก้อาการเจ็บปลายลิ้น
ช่วยป้องกันและบำบัดรักษาโรคหัวใจ
ช่วยป้องกันและรักษาโรคหอบหืด
ช่วยรักษาโรคตับอักเสบ
ช่วยรักษาอาการท้องเสีย เพราะช่วยฆ่าเชื้อโรคที่เป็นต้นเหตุได้
ช่วยบรรเทาอาการอาการปวดท้องเฉียบพลัน
ช่วยแก้อาการท้องผูก ลดอาการแสบท้อง
ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ
ช่วยลดอาการหดเกร็งตามลำไส้
ช่วยรักษาอาการกรดไหลย้อน
ช่วยรักษาไทรอยด์เป็นพิษ
ช่วยรักษาโรคนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในถุงน้ำดี
ช่วยรักษาอาการปัสสาวะแสบขัด ออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ
ช่วยแก้อาการปัสสาวะมีสีเข้ม ปัสสาวะบ่อย หรือมีอาการปัสสาวะออกมาเป็นเลือด
ช่วยรักษาอาการมดลูกโต อาการปวดมดลูก ตกเลือดได้
ช่วยบำบัดรักษาโรคต่อมลูกหมากโต
ช่วยป้องกันโรคไส้เลื่อน
ช่วยในการรักษาโรคเริม งูสวัด
ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
ช่วยรักษาอาการตกขาว
ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกาต์
ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
ช่วยรักษาอาการผิวหนังมีความผิดปกติคล้ายรอยไหม้
น้ำย่านางเมื่อนำมาผสมกับดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากผสมจนเหลว สามารถนำมาทา สิว ฝ้า ตุ่มคัน ตุ่มใส ผื่นคัน พอกฝีหนองได้อีกด้วย
ช่วยป้องกันและรักษาอาการส้นเท้าแตก เจ็บส้นเท้า
ช่วยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าผุ โดยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย หรือในเล็บมีสีน้ำตาลดำคล้ำ อาการอักเสบที่โคนเล็บ
สำหรับประโยชน์ของใบย่านางด้านอื่น ๆ เช่น การนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ยกตัวอย่าง ใบย่านางแคปซูล สบู่ใบย่านาง แชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น
แชมพูสระผมจากใบย่านาง ช่วยให้ผมดกดำ ชะลอการเกิดผมหงอก

วิธีทำน้ำใบย่านาง
สรรพคุณใบย่านางอย่างแรกคือการเตรียมส่วนประกอบ คือ ใบย่านาง 10-20 ใบ (ตามความเข้มข้นที่ต้องการ) / ใบเตย 3 ใบ / บัวบก 1 กำมือ / หญ้าปักกิ่ง 3-5 ต้น / ใบอ่อนเบญจรงค์ 1 กำมือ / ใบเสลดพังพอน 1 กำมือ / ว่านกาบหอย 5 ใบ (จะใช้หลายอย่างรวมกันก็ได้หรือจะแค่ใบย่านางอย่างเดียวก็ได้ตามแต่สะดวก)
นำใบสมุนไพรต่าง ๆ ที่เตรียมมาตัดให้เป็นชิ้นเล็ก
นำใบไปโขลกหรือนำไปปั่นด้วยเครื่องปั่นให้ละเอียดจนเป็นน้ำ (ปั่นประมาณ 30 วินาทีเพื่อคงคุณค่าของสมุนไพรให้มากที่สุด)
เสร็จแล้วนำมากรองผ่านผ้าขาวบางหรือกระชอนอีกที
เสร็จแล้วน้ำย่านาง
คำแนะนำ

สำหรับบางคนที่รู้สึกว่ากินยาก เหม็นเขียว กินแล้วรู้สึกไม่สบายก็สามารถนำน้ำย่านางไปต้มให้เดือดแล้วนำมาดื่มหรือจะผสมกับน้ำสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ก็ได้ เช่น ขิง ตะไคร้ ขมิ้น หรือจะผสมกับน้ำมะพร้าว น้ำมะนาว น้ำตาล หรือแม้แต่น้ำเฮลส์บลูบอยก็ได้เช่นกัน
ควรดื่มน้ำย่านางสด ๆ ก่อนอาหารหรือตอนท้องว่างประมาณครึ่งแก้ว 3 ครั้งต่อวัน
ควรดื่มแต่พอดี หากดื่มแล้วรู้สึกแพ้ พะอืดพะอม ก็ควรลดความเข้มข้นของสมุนไพรที่ใส่ลงไปให้น้อยลงอีกจนเหมาะสมกับเรา
เมื่อทำเสร็จแล้วควรดื่มทันที เพราะถ้าทิ้งไว้นานเกินไปจะเกิดกลิ่นเหม็นเปรี้ยวได้ แต่สามารถนำมาแช่ตู้เย็นได้ และควรดื่มภายใน 3 วัน
การพึ่งแต่สมุนไพรอย่างเดียวอาจจะไม่ใช่คำตอบในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ดังนั้นควรทำอย่างอื่นเสริมไปด้วยจะช่วยให้มีประสิทธิภาพในการรักษามากยิ่งขึ้น

แหล่งอ้างอิง : หมอเขียว ใจเพชร กล้าจน

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)[/size]