วันเสาร์, 16 พฤศจิกายน 2567

ม.ทักษิณ ต้อนรับคณะกรรมาธิการการศาสนาฯ วุฒิสภา ประชุมขับเคลื่อนแนวคิดการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน(องค์การมหาชน) ภาคใต้

วันที่ 15 พฤษภาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ ร่วมต้อนรับคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภาที่เข้าร่วมโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบัน ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) โดยได้รับเกียรติจากนายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดการสัมมนาและปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน”  สำหรับโครงการสัมมนาแนวทางการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน(องค์การมหาชน) ภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันหาแนวทางการจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) รวมตลอดจนดำเนินการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็น และรวบรวมข้อมูลเพื่อพัฒนางานวิชาการภายใต้การจัดการองค์ความรู้  และแนวคิดภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน ณ ห้องประชุมบ้านซูซูกิ อาคารพาไล สถาบันทักษิณคดีศึกษา จังหวัดสงขลา

รศ.ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ ประธานคณะทำงานฯ ได้นำเสนอข้อมูลพื้นฐานในระดับประเทศภายใต้แนวคิดภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน และกล่าวถึงโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบัน ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) ในครั้งนี้ว่า คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ได้มีมติ เห็นชอบเรื่องและประเด็นการปฏิรูปตามแนวทางของรัฐบาล ภายใต้ข้อเสนอโครงการ/กิจกรรมสำคัญ  ที่ควรเร่งรัด (Big Rock) ประเด็นที่ 1 : ประเด็นภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน ไปเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563  และได้ส่งมอบต่อคณะกรรมการแผนการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงานและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผ่านคณะกรรมการตรวจสอบและเร่งรัดการปฏิรูป วุฒิสภาแล้วนั้น ประเด็นภูมิภาษา  และปัญญาแผ่นดิน มีสาระสำคัญดังนี้ โครงการ/กิจกรรมสำคัญที่ควรเร่งรัด (Big Rock) : ประเด็นภูมิภาษา และปัญญาแผ่นดิน ผลักดันการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานและพัฒนา เพื่อส่งเสริมภูมิภาษาและภูมิปัญญา แผ่นดิน ทั้งของท้องถิ่นและของชาติ ทั้งในด้านภูมิบ้านภูมิเมือง (โบราณสถาน แหล่งเรียนรู้ทาง ประวัติศาสตร์มรดกทางวัฒนธรรม) ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น (ภูมิรู้ศิลปวัฒนธรรมจากปราชญ์ชาวบ้าน)  และด้านภูมิภาษาและวรรณกรรม รวมถึงเพลงพื้นบ้าน ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีอันดีงาม  เพื่อให้ตระหนักและเกิดความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของชาติและวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้กับ ประชาชนทุกช่วงวัย ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน คือ คนไทยตระหนักในคุณค่าของ ศิลปวัฒนธรรมที่บรรพชนสร้างไว้ เพื่อสืบสาน วิจัย และพัฒนาต่อไป ทั้งจากโบราณสถาน แหล่งเรียนรู้  ทางประวัติศาสตร์มรดกทางวัฒนธรรมภูมิรู้ศิลปวัฒนธรรมจากปราชญ์ชาวบ้าน ภาษาและวรรณกรรม  รวมถึงเพลงพื้นบ้าน ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีอันดีงาม รวมทั้งสร้างสุนทรียะในเรื่องศิลปวัฒนธรรม ให้แก่ประชาชนทุกช่วงวัย ผ่านรูปแบบและช่องทางต่าง ๆ และส่งเสริม สนับสนุนให้สถาบันครอบครัว  สถาบันการศึกษาสถาบันศาสนาให้มีบทบาทในการสร้างความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมชาติและท้องถิ่นของตนเอง

การสัมมนาในครั้งนี้เป็นโครงการที่คณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกับคณะทำงานจัดทำรายงานพิจารณาศึกษา เรื่องแนวทางการขับเคลื่อนภายใต้แนวคิดภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดินในคณะกรรมาธิการการศาสนา  คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดสัมมนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะด้านปัจจัยเงื่อนไข องค์ประกอบและทิศทางในการขับเคลื่อนสู่การเป็นสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน)  ที่จะเป็นองค์กรที่บริหารจัดการระบบหนังสือทั้งระบบ ตั้งแต่นักเขียน หนังสือทั้งที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์และดิจิทัล  กระบวนการผลิตเพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงหนังสือได้ การแปลวรรณกรรมทั้งจากต่างประเทศและแปลวรรณกรรม ไทยสู่สากล การจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชาติทั้งด้านภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นการเปิดพื้นที่  ทางวัฒนธรรม การจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ การสร้างสุนทรียะในเรื่องศิลปวัฒนธรรมให้แก่ประชาชน  ทุกช่วงวัย ผ่านรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านสื่อสารมวลชน และสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในทุกช่องทาง การเปิดมิติในการทำงานเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมประสานความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนภาคประชาสังคมและสื่อสารมวลชนให้มีบทบาทในการรณรงค์สร้างความภาคภูมิใจด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมประกอบด้วยการปาฐกถาพิเศษการบรรยาย การอภิปราย การแบ่งกลุ่ม การสัมมนาแบบระดมสมอง  (Brainstorming) และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องกว่า 70 คน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2565

ประกอบด้วยคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม  คณะทำงานจัดทำรายงานพิจารณาศึกษาเรื่องแนวทางการขับเคลื่อนภายใต้แนวคิดภูมิภาษา  และปัญญาแผ่นดิน  ผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องในภาคใต้ โดยกิจกรรมสัมมนามีการแบ่งกลุ่มระดมสมองเพื่อรับฟังความคิดเห็น จำนวน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. กลุ่มภูมิภาษาและวรรณศิลป์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อภิชาติจันทร์แดง นายปรเมศวร์  กาแก้ว และนางสุมาลีสุวรรณกร  2. กลุ่มภูมิบ้านภูมิเมือง โดยนายบรรจง ทองสร้าง นายธีระ จันทิปะ และนายชัชวินธ์ ตันติเวชวาณิชย์  3. กลุ่มภูมิปัญญาแผ่นดิน โดย นายจรูญ หยูทอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  เอี่ยมสำอาง และนางสาวเมทิกา พ่วงแสง