วันอาทิตย์, 12 มกราคม 2568

มหาวิทยาลัยทักษิณ “เปิดโลกนวัตกรรม เปิดบ้านอุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยทักษิณ” ครั้งที่ 1 สร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (YEC) หอการค้าจังหวัดพัทลุง และอุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยทักษิณ (SSIP TSU)

อุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดกิจกรรม “เปิดบ้านอุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยทักษิณ” ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์อันดี สร้างการรับรู้ และความตระหนักการให้บริการของอุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม โดยอุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม  มีพันธกิจหลักการสนับสนุนการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเพื่อร่วมพัฒนาสังคม การสร้างสังคมผู้ประกอบการให้แก่นิสิต บุคลากร และบุคคลทั่วไป และการให้คำปรึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน และการพัฒนาผู้ประกอบการโดยอาศัยการบ่มเพาะทางเทคโนโลยีและธุรกิจ การให้บริการทรัพยากรพื้นฐานเพื่อการประกอบธุรกิจ และการเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันเชิงพาณิชย์ ในระดับประเทศสำหรับผู้ประกอบการ  สมาชิก YEC ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายที่ให้บริการ ซึ่งวันนี้ก็จะไปเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการต่าง ที่สามารถให้บริการกับภาคเอกชนได้ ประกอบด้วย

1) อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ

2) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยียางเพื่อชุมชน คณะวิศวกรรมศาสตร์

3) คลินิกการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา

4) ศูนย์เครื่องมือกลาง สถาบันวิจัยและพัฒนา

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก :

– รองศาสตราจารย์ ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม / กล่าวต้อนรับ

– ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นุกูล อินทระสังขา ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม / แนะนำบริการของอุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม

– นางสาวเกศกมล จันทร์โภคาไพบูลย์ ประธาน YEC จังหวัดพัทลุง รุ่นที่ 8 /แนะนำภารกิจและความสำคัญการดำเนินงานของกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ จังหวัดพัทลุง

– คุณกิตติพิชญ์ กลับคุณ ประธานหอการค้าจังหวัดพัทลุง / แนะนำภารกิจหอการค้าจังหวัดพัทลุง

.ร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมปาริฉัตร อาคารบริหารและสำนักงานกลาง

อุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยทักษิณ มีวิสัยทัศน์ เพื่อมุ่งเน้นการบ่มเพาะ ถ่ายทอดองค์ความรู้และงานวิจัย ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม สู่สังคมผู้ประกอบการเพื่อรับใช้สังคม จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

เป็นหน่วยงานประสานและขับเคลื่อนการนำวิชาการเพื่อสังคมในภาพรวมของมหาวิทยาลัยผ่านกระบวนการบ่มเพาะและพัฒนาบุคลากรและบัณฑิตเพื่อสนับสนุนการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคม(Social Enterprise)

 – เป็นหน่วยงานสนับสนุนการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย (Research Utilization) สู่เชิงพาณิชย์และมุ่งสร้างสังคมผู้ประกอบการ

ให้แก่นิสิต อาจารย์ บุคลากร และบุคคลทั่วไป โดยส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ผ่านกระบวนการบ่มเพาะธุรกิจ

 – เป็นหน่วยงานประสานงานกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อให้คำปรึกษา ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน

ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) กับชุมชนในเขตพื้นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในรูปแบบคลินิกเทคโนโลยี

– เพื่อเป็นหน่วยงานเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ โดยให้บริการด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนการพัฒนาและรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การจัดทำฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และการให้บริการและพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชน