มรภ.สงขลา แลกเปลี่ยนความร่วมมือ ม.วิทยาศาสตร์ฯ ผิงตง ไต้หวัน ส่ง 15 อาจารย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านวิจัย-การเรียนการสอน

มรภ.สงขลา เยือนมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติผิงตง, ไต้หวัน หารือดำเนินกิจกรรมตาม MOU แลกเปลี่ยนนักศึกษาและคณาจารย์ในอนาคตอันใกล้ พร้อมนำ 15 บุคลากรสายวิชาการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัยและการเรียนการสอนในต่างประเทศ ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่สากล

รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) พร้อมด้วย ดร.นราวดี บัวขวัญ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ดร.นิสิตา ฤทธาภิรมย์ รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ นำทีมบุคลากรสายวิชาการ มรภ.สงขลา จำนวน 15 คน เดินทางไปยังมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติผิงตง, ไต้หวัน National Pingtung University of Science and Technology (NPUST) ระหว่างวันที่ 4-12 พฤษภาคม 2567 ภายใต้โครงการพัฒนาองค์ความรู้บุคลากรสายวิชาการด้านการวิจัยและการเรียนการสอนในต่างประเทศ โดยได้เยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้ 1. Department of Food Science 2. Department of Biomechatronics Engineering 3. Green Energy Greenhouse 4. Program of Artificial Intelligence and Mechatronics

นอกจากนั้น รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี มรภ.สงขลา และผู้เกี่ยวข้อง ได้หารือเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมตามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในด้านพัฒนาโครงการทางวิชาการ การฝึกอบรมที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน การแลกเปลี่ยนนักศึกษา การแลกเปลี่ยนคณาจารย์และบุคลากรเพื่อประโยชน์ด้านการสอน การวิจัย ตลอดจนความร่วมมือในด้านอื่น ๆ ที่ทั้งสองมหาวิทยาลัยมีความสนใจร่วมกัน ซึ่งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ระหว่างประเทศของสถาบันอุดมศึกษา มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน เพื่อตอบสนองนโยบายการพัฒนาความสัมพันธ์ในการสร้างและขยายพันธมิตรในต่างประเทศ โดยยึดหลักการมีผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษา

นอกจากนั้น รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี มรภ.สงขลา และผู้เกี่ยวข้อง ได้หารือเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมตามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในด้านพัฒนาโครงการทางวิชาการ การฝึกอบรมที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน การแลกเปลี่ยนนักศึกษา การแลกเปลี่ยนคณาจารย์และบุคลากรเพื่อประโยชน์ด้านการสอน การวิจัย ตลอดจนความร่วมมือในด้านอื่น ๆ ที่ทั้งสองมหาวิทยาลัยมีความสนใจร่วมกัน ซึ่งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ระหว่างประเทศของสถาบันอุดมศึกษา มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน เพื่อตอบสนองนโยบายการพัฒนาความสัมพันธ์ในการสร้างและขยายพันธมิตรในต่างประเทศ โดยยึดหลักการมีผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษา