วันอาทิตย์, 22 ธันวาคม 2567

มรภ.สงขลา ออกภาคสนามพัฒนาสุขภาพชุมชน “ฅนบ้านวังหอน”

มรภ.สงขลา นำนักศึกษาออกภาคสนามพัฒนาสุขภาพชุมชนพื้นที่บ้านวังหอน จ.นครศรีธรรมราช บริการวิชาการในสถานการณ์จริง พร้อมทำวิจัยควบคู่ ผนึกภาคีเครือข่ายเสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาชีพหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต

  ดร.วรพล หนูนุ่น ประธานหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงโครงการออกภาคสนามพัฒนาสุขภาพชุมชน ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ครั้งที่ 15 “พัฒนาสุขภาพชุมชน ฅนบ้านวังหอน” ณ หมู่ 5 บ้านวังหอน และเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ต.วังอ่าง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ทางหลักสูตรฯ ได้เปิดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาคปกติ จำนวน 76 คน ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์ทางสาธารณสุขศาสตร์ ณ หน่วยฝึกฯ ที่เป็น รพ.สต. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลชุมชน และหน่วยงานในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ  ก่อนจะสำเร็จการศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างประสบการณ์ในการพัฒนาสุขภาพชุมชนและการจัดบริการวิชาการในสถานการณ์จริงให้แก่นักศึกษา ตลอดจนเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาชีพระหว่างหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต กับภาคีเครือข่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  

ดร.วรพล กล่าวว่า นอกจากนั้น ยังเป็นการบูรณาการองค์ความรู้เรื่องการศึกษาสุขภาวะชุมชนและการพัฒนาสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทวัฒนธรรมภาคใต้ ตามแผนพัฒนาสุขภาพ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) และแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ประเทศไทย 4.0) ให้เข้ากับรายวิชาต่างๆ ของหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2555 ประกอบด้วย การเตรียมฝึกประสบการณ์ทางสาธารณสุขศาสตร์ เป็นหลัก และร่วมกับรายวิชาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ ปัญหาพิเศษทางสาธารณสุข โปรแกรมสุขภาพในโรงเรียน และ รายวิชาวิทยาการสาธารณสุข ซึ่งเป็นนักศึกษากลุ่มเดียวกันทั้งหมด โดยจัดให้มีกิจกรรมต่างๆ ที่จะดำเนินการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ อาทิ การศึกษาสุขภาพชุมชน การบริการวิชาการด้วยการจัดบริการประเมินสุขภาวะระดับบุคคลให้กับประชาชน ต.วังอ่าง การจัดมหกรรมพัฒนาสุขภาพชุมชนฅนบ้านวังหอน ทั้งได้นำเอาการละเล่นและกีฬาพื้นบ้านตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชน เพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสุขภาพระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนด้วย

ประธานหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต กล่าวอีกว่า ในการออกภาคสนามฯ ครั้งนี้นักศึกษาและอาจารย์ได้กำหนดทำวิจัยร่วมไปด้วยในเรื่อง 1. การศึกษาสุขภาวะชุมชนบ้านวังหอน ด้วยเทคนิค RRA 2. การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวชุมชนที่คงสุขภาวะชุมชนไว้ได้อย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาชุมชนบ้านวังหอน 3. การพัฒนารูปแบบการประยุกต์การละเล่นและกีฬาพื้นบ้านตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนเพื่อใช้ในการพัฒนาสุขภาพชุมชน ซึ่งเป็นความต้องการที่เริ่มต้นจากพื้นที่ที่ได้แจ้งไว้เพื่อขอใช้ประโยชน์ในโอกาสต่อไป และเพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ทางสาธารณสุขศาสตร์ในด้านการพัฒนาสุขภาพชุมชน ด้วยการออกปฏิบัติการจริงในสถานที่และเหตุการณ์จริง เพื่อความเข้าใจตรงกันและมีทิศทางที่ถูกต้องไปในรูปแบบเดียวกัน จนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของรายวิชาดังกล่าวได้อย่างดี และมีความสมบูรณ์แบบ อันจะเป็นประโยชน์