วันศุกร์, 15 พฤศจิกายน 2567

มรภ.สงขลา ออกบูธนิทรรศการและประชุมเสวนา “พัฒนาท่องเที่ยวท้องถิ่นใต้อย่างยั่งยืน บนฐานคิดท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์”

 มรภ.สงขลา ร่วมออกบูธนิทรรศการและประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “พัฒนาท่องเที่ยวท้องถิ่นใต้อย่างยั่งยืน บนฐานคิดการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” จัดโดย กองทุุน ววน. จับมือกับ อบก. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สร้างองค์ความรู้ ปูทางสู่ความเติบโตด้านธุรกิจเที่ยวของประเทศ

ดร.นราวดี บัวขวัญ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) พร้อมด้วยนักวิจัยจาก มรภ.สงขลา ร่วมออกบูธนิทรรศการและประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “พัฒนาท่องเที่ยวท้องถิ่นใต้อย่างยั่งยืน บนฐานคิดการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” ณ โรงแรมลากูน่า แกรนด์ แอนด์ สปา สงขลา เมื่อวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2566 จัดโดยแผนงานกลุ่มท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) มีผู้ร่วมเข้างานทั้งจาก สกสว. บพข. มหาวิทยาลัยต่างๆ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน วิสาหกิจชุมในพื้นที่ 10 จังหวัดในภาคใต้

โอกาสเดียวกันนี้ ดร.นราวดี บัวขวัญ ยังได้ร่วมเวทีเสวนา “แนวทางการดําเนินงานของ บพข. เกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวมุ่งสู่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” ดําเนินรายการ โดย รศ.ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร ประธานผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มท่องเที่ยวไทยไร้คาร์บอน พร้อมด้วยผู้ร่วมวงเสวนานักวิจัย บพข. จากหลายภาคส่วน ได้แก่ รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง และ นายนิพัทธ์พงษ์ ชวนชื่น อุปนายกสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.)

นอกจากนั้น ภายในงานยังมีการเสวนาในประเด็นท่องเที่ยวไทยไร้คาร์บอน : ปรับ ลด ชดเชย บอกต่อ (ภาคใต้) ในหัวข้อ “ท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral Tourism) กับการยกระดับการท่องเที่ยวท้องถิ่นปักษ์ใต้” ดําเนินการเสวนาโดย ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วยนักวิชาการ นักวิชาชีพ และผู้ประกอบการท่องเที่ยวระดับแนวหน้า ในประเด็น “เจาะตลาด เพิ่มยอดขาย ท่องเที่ยวไทย ไร้คาร์บอน” โดย นายนิพัทธ์พงษ์ ชวนชื่น “กระบี่ : การท่องเที่ยวแบบ Zero คาร์บอน” โดย ผศ.ดร.พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ “กระบี่ : ชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก จังหวัดกระบี่” โดย นายชาญฤทธิ์ เพิ่มทรัพย์ ประธานชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก จังหวัดกระบี่ “ภูเก็ต : วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าภูเก็ต” โดย นายสมยศ ปาทาน ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าภูเก็ต

การบรรยายพิเศษ “การคํานวณการปล่อยคาร์บอนของบริการการท่องเที่ยว (Product Category Rules : PCR)” โดย นางสาวพวงพันธ์ ศรีทอง วิทยากรพิเศษจาก อบก. ก่อนจะปิดท้ายด้วยการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสรุปประเด็นมุ่งสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ โดย ผศ.ดร.จุฬาภรณ์ ขอบใจกลาง นักวิจัยโครงการ

นายกองเอกพุทธ กฤชคงพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ถือเป็นพื้นที่สำคัญในการนำเสนอ การสร้างความเข้าใจและทักษะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนแผนการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทย รวมถึงการจัดนิทรรศการเผยแพร่องค์ความรู้อย่างบูรณาการ เพื่อการท่องเที่ยวไทยไร้คาร์บอนในปี 2564 และ ปี 2565 ร่วมกัน ทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมงาน ซึ่งจะก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่สำคัญและมีประสิทธิภาพในด้านการท่องเที่ยวมุ่งสู่เป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์มากยิ่งขึ้น โดยหวังว่าจะเกิดประโยชน์ในการประกอบธุรกิจเที่ยวของประเทศอย่างแน่นอน

ด้าน ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. และประธานคณะอนุกรรมการ บพข. กล่าวว่า สกสว. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดสรรงบประมาณการวิจัยให้กับหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัย มหาวิทยาลัย/หน่วยงานในระบบ ววน. ราว 180 แห่ง ทั้งยังมีระบบติดตามประเมินผลสำหรับแผนการวิจัยการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. ได้รับสนับสนุนงบประมาณการวิจัยประมาณ 200 ล้านบาทต่อปี โดยออกแบบแผนงานวิจัยเพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยว จำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก “แผนการท่องเที่ยวมูลค่าสูง” เน้นการทำงานร่วมกับภาคเอกชน เพื่อสร้างรายได้และคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนและคนในภาคการท่องเที่ยว โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่ 1. การท่องเที่ยวบนฐานมรดกชาติการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ 2. การยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ 3. แผนการยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพสูง และกลุ่มที่สอง “แผนงานการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ “การยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์