คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย)
จัดเสวนาชวนคณะผู้บริหารเทศบาลนครสงขลา หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นคณะนักวิจัย และประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลา ร่วมพูดคุยประเด็นพัฒนาสงขลาสู่เมืองอัจฉริยะ
วันนี้ (16 ก.ค.63) ณ ห้องประชุมโรงแรมเดอะเบด วาเคชัน จ.สงขลา นายอำพล พงศ์สุวรรณ
รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย ดร.สมศักดิ์ ตันติเศรณี นายกเทศมนตรีนครสงขลา
ผู้ช่วยศาตราจารย์อุดร นามเสน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย รองศาตราจารย์จรูญ เจริญเนตรกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ (ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย) นายปกรณ์ ปรีชาวุฒิเดช ผู้จัดการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สาขาภาคใต้ตอนล่าง เภสัชกรหญิงชโลม เกตุจินดาอุปนายกสมาคมผู้บริโภค และประชาชนเขตเทศบาลนครสงขลา เข้าร่วมโครงการเสวนา Smart City
ในมุมมองของคนสงขลา ตามแผนงานการพัฒนาศักยภาพพื้นที่เมือง
และโครงสร้างพื้นฐานรองรับยุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะของเทศบาลนครสงขลา
นายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวขณะเป็นประธานในพิธีว่า
จากนโยบายประเทศกำหนดให้ประเทศไทยเดินหน้าพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “Smart City”อย่างเต็มตัว โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี
ได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ในระยะแรกได้พัฒนาแล้ว 7 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา และกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 2562 เตรียมจะขยายไปสู่ 24 จังหวัด30 พื้นที่ จนถึงปี 2565 ซึ่งพื้นที่จังหวัดสงขลาก็ได้รับการจัดกลุ่มอยู่ในกลุ่มดังกล่าวนี้ด้วย
โดยรูปแบบของเมืองอัจฉริยะ จะประกอบด้วยองค์ประกอบ 7 ด้าน คือ เศรษฐกิจอัจฉริยะ ขนส่งอัจฉริยะพลังงานอัจฉริยะ การดำรงชีวิตอัจฉริยะ สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ พลเมืองอัจฉริยะ และการบริหารภาครัฐอัจฉริยะเป้าหมายของการจัดเสวนาครั้งนี้ก็เพื่อสร้างความเข้าใจการดำเนินการโครงการแก่กลุ่มเป้าหมายคือประชาชนชาวสงขลา
ด้าน รองศาตราจารย์จรูญ เจริญเนตรกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์
(ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย) กล่าวด้วยว่า ตามที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ (มทร.ศรีวิชัย)
ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานสภานโยบายอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ(สอวช.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โครงการการพัฒนาศักยภาพพื้นที่เมืองและโครงสร้างพื้นฐานยุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะของเทศบาลนครสงขลา
ภายใต้แผนงาน มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ โปรแกรม 13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม แพลตฟอร์ม 4การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันกลไกนโยบาย กลไกการมีส่วนร่วม และกลไกด้านบุคลากรของรัฐในการเป็นเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรม และกำหนดแนวทาง วิธีการและระบบดำเนินการในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้านสิ่งแวดล้อม (Smart environment)
ผศ.ดร. ชลัท ทิพากรเกียรติ หัวหน้าโครงการย่อย 3ได้กล่าวถึงรายละเอียดของโครงการเพิ่มเติมว่างานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อจัดตั้งศูนย์พัฒนาเมืองและโครงสร้างเพื่อพัฒนาสงขลาเป็นเมืองอัจฉริยะร่วมกับภาคีทั้ง หน่วยงานรัฐ เอกชน ชุมชน และภาควิชาการ จ.สงขลา โดยจะทำการศึกษา วิเคราะห์พื้นที่ที่มีศักยภาพ เพื่อส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ถัดจากนั้นคือการวางแผนพัฒนาเมืองและโครงสร้างพื้นฐานนำไปสู่การสร้างคุณภาพชีวิต และกำหนดแนวทาง วิธีการ และมาตรการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรม
โดยในทุกขั้นตอนจะผ่านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนหลังจากคณะผู้วิจัยได้รวบรวมปัญหาจากการทำการสนทนากลุ่ม พบว่า ปัญหาหลักคือสิ่งแวดล้อมและการจราจร จึงกำหนดโดยกรอบการวิจัยเป็น 3 งานหลัก คือ งานรวบรวมข้อมูลงานประเมินผล/การถ่ายทอดเทคโนโลยี/การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้โครงการและงานวิเคราะห์ข้อมูล/สร้างต้นแบบสำหรับ City lab/pilot study/Feedback
โดยมีผลลัพธ์จากงานวิจัยเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาจราจร และปัญหาด้านเศรษฐกิจซึ่งผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์คือ ประชาชนในพื้นที่ ผู้ใช้ทาง นักท่องเที่ยว และผู้ทำธุรกิจในพื้นที่โครงการ