วันเสาร์, 11 มกราคม 2568

“พรุ่งนี้ชายแดนใต้กับสื่อยุคดิจิตอล” เสวนาในกิจกรรม “27 ปี สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ” สะท้อนบทบาทสื่อมวลชนสู่การพัฒนา

วันนี้ (9 สิงหาคม 2567) เวลา 14.00 น. ที่ Event Hall ชั้น B ไดอาน่า หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พันเอก เอกวริทธิ์ ชอบชูผล โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า / หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ผู้แทนแม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ร่วมเสวนาในหัวข้อ “พรุ่งนี้ชายแดนใต้กับสื่อยุคดิจิตอล” ภายใต้กิจกรรม “27 ปี สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ” พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุสุมา กูใหญ่ ผู้อำนวยการสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , คุณกันต์พงษ์ ลิ่มกาญจนา ประธานหอการค้าจังหวัดยะลา , คุณคฑาวุธ แช่ม ผู้สื่อข่าวเวิร์คพ้อยท์ ประจำจังหวัดยะลา / บรรณาธิการเพจยะลาใต้สุดสยามเมืองงามชายแดน และคุณสมชาย สามารถ บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส ก่อนร่วมพิธีเปิดกิจกรรม 27 ปี สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ โดยมี โดยมี นายจรัส บำรุงเสนา ผู้ช่วยเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้แทน เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานเปิดการเสวนาฯ , นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ , นางสุนิสา รามแก้ว ประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ตลอดจนสื่อมวลชนทุกแขนงเข้าร่วมรับฟังเสวนาในครั้งนี้ด้วย

สำหรับกิจกรรม “27 ปี สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ” จัดขึ้นสภาการสื่อมวลขนแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพสื่อที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกันเองทางด้านจริยธธธรรม รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนเสรีภาพของสื่อมวลชนในประเทศไทย ครอบคลุมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล เป็นเวลา 27 ปี โดยการกำกับดูแลกันเองในด้านจริยธรรมของสมาชิก ซึ่งถือเป็นภารกิจหลัก ประกอบด้วย การกำกับดูแลจริยธรรมในเชิงรุก อันมีกลไกในการสอดส่องและรับฟังข้อดิตเห็นจากสาธารณชนที่มีต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่เป็นสมาชิกว่ามีการละเมิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพสื่อมวลชนในเรื่องใดหรือไม่ อย่างไร ก่อนจะนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียน และการกำกับดูแลในเชิงรับ หรือการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้เสียหายหรือผู้ที่เห็นว่าสื่อมวลชนหรือผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนกระทำการละเมิดจริยธรรมเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยการจัดกิจกรรมดังกล่าวเป็นความรับผิดชอบของหนังสือพิมพ์ภาคโต้โฟกัส และเพจ “สงขลาโฟกัส” ระหว่างวันที่ 9-10 สิงหาคม 2567 เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในบทบาทของสื่อมวลชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาในวิชาชีพ อันจะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อไป#ศูนย์ประชาสัมพันธ์