วันจันทร์, 24 กุมภาพันธ์ 2568

ผอ.ศปป.5 กอ.รมน.และคณะฯ ลงใต้ ติดตามการแก้ไขปัญหา จชต. พร้อมประสานงานหน่วยในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนพื้นที่ให้เกิดสันติสุข

คณะศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหา จชต.และประสานงานหน่วยราชการในพื้นที่ จชต. และเดินทางร่วมกิจกรรม ต้นกล้าพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ระหว่างวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2568 โดยวันนี้ (10 กุมภาพันธ์ 2568 ) เวลา 10.00 น. พลโท สุรเทพ หนูแก้ว ผู้อำนวยการ ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พร้อมคณะฯ เข้าเยี่ยมและพบปะ พันตำรวจโท วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมด้วย นายนันทพงษ์ สุวรรณรัตน์ รองเลขาธิการ ศูนย์อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า และหัวหน้าสำนัก/กอง ศอ.บต. ร่วมให้การต้อนรับและประชุมหารือการขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการในมิติพัฒนาพื้นที่สำคัญในพื้นที่ จชต. ณ ห้องประชุมปัญจเพชร ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

ด้าน พันตำรวจโท วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า เป็นโอกาสดีที่ ศปป.5 กอ.รมน. เดินทางมาเยี่ยน ศอ.บต. เพื่อร่วมกันหารือและแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะต่างๆ ร่วมกัน โดย ศอ.บต.นั้นมีบทบาทหน้าที่ภารกิจงานเชิงบุรณาการในพื้นที่ทุกภาคส่วนและมีบทบาทหน้าที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติมีขอบเขตหน้าที่ที่ชัดเจน โดยดำเนินงานด้านการพัฒนาร่วมกันแก้ปัญหาโดยการมีส่วนร่วมของทุกส่วน ทั้งหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและประชาชน เป้าหมายสร้างพื้นที่ สร้างสังคมให้เกิดสันติสุขภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน

ด้าน พลโท สุรเทพ หนูแก้ว ผู้อำนวยการ ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กล่าวว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เพื่อติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นรวมถึงการประสานงานกับหน่วยฯ ในพื้นที่ในทุกมิติ ในส่วนของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนมิติการพัฒนาควบคู่กับงานด้านความมั่นคงทั้งนี้ มั่นใจและเชื่อว่าการแก้ไขปัญหาให้เกิดสันติสุขได้โดย “สันติวิธี ยุติความรุนแรง” สำหรับการขับเคลื่อนสันติสุขในพื้นที่ โดยที่ผ่านมา ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ได้ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องในประเด็นต่าง ๆ

ทั้งแนวทางเพื่อฟื้นฟูให้คนไทยที่ออกไปคืนถิ่น,การแก้ไขปัญหาระหว่างคนต่างศาสนาให้อยู่ร่วมกันในชุมชน, การให้ความรู้และอบรมก่อนสมรส เพื่อลดปัญหาการหย่าร้างและป้องกันปัญหาเด็กกำพร้าเน้นการสร้างความเข้าใจและความพร้อมในชีวิตครอบครัว, การติดตั้งระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน, การฟื้นฟูโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ ในพื้นที่ที่เคยดำเนินการแต่เกิดภาวะหยุดชะงัก
เพื่อให้สามารถกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน, การซ่อมแซมระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ในโครงการพระราชดำริและฟาร์มตัวอย่างเพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชมชน,โครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 5