เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2567 เวลา 1700 น. ที่ กองร้อยลาดตระเวนระยะไกล กองพลทหารราบที่ 15 ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 เดินทางตรวจเยี่ยม รับฟังการบรรยายสรุป สิ่งประดิษฐ์ทางทหาร เป้ายิงปืนทางยุทธวิธี ของหน่วยที่ได้รับรางวัล จากกองทัพบก พร้อมทั้งรับทราบความเป็นมา หลักการทำงาน แนวทางการพัฒนา ปัญหาข้อขัดข้อง ตลอดจนรับชมสาธิตการใช้งาน สิ่งประดิษฐ์ทางทหาร เป้ายิงปืนทางยุทธวิธี จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มทักษะในการใช้อาวุธของกำลังพลให้มีความชำนาญรวดเร็ว และแม่นยำ สามารถปกป้องความปลอดภัย ให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ จชต. ต่อไป โดยมี พันตรี ธนพัฒน์ บูรณะศักดิ์สกุล ผู้บังคับกองร้อยลาดตระเวนระยะไกล กองพลทหารราบที่ 15 พร้อมทั้งคณะผู้บังคับบัญชาร่วมให้การต้อนรับ
ทั้งนี้ พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว กล่าวว่า การที่กองร้อยลาดตระเวนระยะไกล กองพลทหารราบที่ 15 ได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ทางทหาร เป้ายิงปืนทางยุทธวิธี ขึ้นนั้น เพื่อต้องการให้หน่วยพัฒนาเป้ายิงปืนให้มีความใกล้เคียงและสมจริงให้มากที่สุดเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของผู้เข้ารับการฝึก ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิบัติราชการสนามของหน่วยที่ได้รับภารกิจสำคัญในการแก้ไขปัญหา 3 จชต. ซึ่งจากภารกิจส่วนใหญ่ที่หน่วยได้รับเป็นภารกิจเชิงรุก ทำให้กำลังพลในหน่วยจำเป็นต้องมีขีดความสามารถในระดับที่สูง เพื่อรองรับภารกิจเชิงรุกที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา และผลการปฏิบัติภารกิจจะต้องประสบผลสำเร็จตามเจตนารมณ์ในอดีตที่ผ่านมา หน่วยได้มีการสูญเสียกำลังพลหลายนายจากการปฏิบัติภารกิจเชิงรุก ซึ่งหน่วยได้มีการดำเนินการทบทวนหลังการปฏิบัติทุกครั้ง ทำให้ทราบว่า หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดการสูญเสียเกิดขึ้นคือการตอบโต้การปฏิบัติต่อฝ่ายตรงข้าม ที่ขาดความตื่นตัว ความรวดเร็ว และแม่นยำในการตอบโต้การ รวมถึงความเหมาะสมในการตัดสินใจเลือกวิธีการดำเนินกลยุทธ์ต่อฝ่ายตรงข้าม โดยทางหน่วยจึงได้พิจารณาออกแบบเครื่องช่วยฝึกที่ตอบโจทย์ในการพัฒนาขีดความสามารถของกำลังพลให้สอดคล้องกับการปฏิบัติภารกิจของหน่วย เพื่อให้สามารถเอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้ โดยฝ่ายเราต้องมีการสูญเสียน้อยให้น้อยที่สุด และที่สำคัญหน่วยได้คิดค้นเครื่องช่วยฝึกขึ้นมาโดยอ้างอิงหลักการตามตำรา IC 3-20.40 Training and qualification – Individual Weapons July 2019 ของกองทัพสหรัฐเป็นหลัก ซึ่งสามารถตอบโจทย์ในการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้อาวุธของกำลังพลได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้กำลังพลปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ