เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 นายราม วสุธนภิญโญ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสงขลา มอบหมายให้นายปุริมปรัชญ์ จันทร์หอม หัวหน้ากลุ่มงานป้องกันการทุจริต พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมประชุมประชุมหารือแนวทางกรณีโรงเรียนสอนขับรถยนต์แห่งหนึ่งบุกรุกพื้นที่โบราณสถานเมืองเก่า ตรวจสอบพบไม่ได้ยื่นขออนุญาตใช้พื้นที่ตาม พ.ร.บ.โบราณสถานฯ ที่ห้องประชุม CEO ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสงขลา โดยมี นายเศวต เพชรนุ้ย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานการประชุมหารือหลังมีข้อร้องเรียนพบการบุกรุกพื้นที่โบราณสถานเมืองสงขลาเก่า ในเขตอำเภอสิงหนคร จากการตรวจสอบพบว่ามีโรงเรียนสอนขับรถยนต์แห่งหนึ่งได้เข้าไปตั้งสถานที่ทำการประกอบกิจการ แต่ไม่ได้ยื่นขออนุญาตใช้พื้นที่ตาม พ.ร.บ. โบราณสถานฯ ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา, นายอำเภอสิงหนคร ตำรวจภูธรสิงหนคร, โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสงขลา ต้องรุดเข้าตรวจสอบ. ส่วนการบุกรุกพื้นที่โบราณสถานของโรงเรียนสอนขับรถยนต์ฯ นั้น สืบเนื่องจากในปี 2566 ตำรวจภูธรสิงหนครได้รับแจ้งความ จึงส่งหนังสือถึงสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา เพื่อให้ตรวจสอบข้อมูลว่ามีการบุกรุกจริงหรือไม่ สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลาจึงรวบรวมข้อมูลพบว่าพื้นที่ดังกล่าวมีการบุกจริง จึงได้เข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเป็นหลักฐาน .
จากข้อมูลพบว่าโรงเรียนสอนขับรถยนต์ฯ ดังกล่าว เข้ามาซื้อที่ดินตั้งแต่ปี 2552 จากนั้นจึงทำการก่อสร้างอาคาร ปรับพื้นที่ริมถนนในปี 2553 และเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2567 กรมศิลปากรได้ทำหนังสือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการลงตรวจสอบพื้นที่ พบมีการขุดปรับหน้าดิน ก่อสร้างอาคาร รวม 9 หลัง ประกอบด้วย อาคารที่พักอาศัย ที่จอดรถ ร้านค้า ซึ่งจากการตรวจสอบแผนที่ โดยสำนักงานที่ดินฯ สาขาสิงหนคร ระบุแปลงที่ดินของโรงเรียนสอนขับรถยนต์ฯ มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้อง เจ้าของที่ดินได้ดำเนินการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เรียบร้อย แต่ไม่ได้ขออนุญาตจากกรมศิลปากร ตาม พ.ร.บ.โบราณสถานฯ จึงเป็นที่มาของการบุกรุกตามที่มีข้อร้องเรียน . อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารโรงเรียนสอนขับรถยนต์ฯ ได้เข้าปรึกษากับสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลาแล้ว เพื่อประสงค์ทำหนังสือขออนุญาตย้อนหลัง แต่สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลาแจ้งว่าไม่สามารถกระทำได้ ด้านผู้บริหารโรงเรียนสอนขับรถยนต์ฯ ยืนยันหลังจากนี้พร้อมให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามกฎหมาย พร้อมขอความเห็นใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเสนอ 2 แนวทาง คือ 1) กำหนดลงพื้นที่สำรวจสอบอาคารที่ก่อสร้างอยู่ในพื้นที่โบราณสถาน ทั้ง 9 หลัง ว่ามีหลังใดที่ส่งผลกระทบทั้งระยะใกล้-ไกลกับโบราณสถานภูเขาน้อย และโบราณสถาณใกล้เคียง หรืออาคารใดบดบังทัศนียภาพโดยรอบของโบราณสถาณ เพื่อนำข้อมูลกลับมาพิจารณาอีกครั้ง ส่วน2) คือ อาจต้องรื้อถอนทั้ง 9 หลัง แล้วเข้าสู่กระบวนการการขออนุญาตใหม่ ทั้งนี้ การพิจารณาเรื่องจะอยู่ภายใต้อำนาจของอธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา จะดำเนินการนำเสนอไปยังกรมศิลปากรต่อไป. อย่างไรก็ตาม การฟื้นฟูและลดผลกระทบของโบราณสถานเมืองสงขลาเก่าหลังจากนี้ สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา ได้วางแผนปักหมุดแนวเขตพื้นที่ สร้างการรับรู้ขอบเขตพื้นที่โบราณสถาน พร้อมจัดประชุมสัมมนาอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ให้เล็งเห็นความสำคัญของโบราณสถาณ ทั้งยังเปิดพื้นที่ให้ชุมชนเช่าพื้นที่โบราณสถาณ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ขณะเดียวกันเป็นการเพิ่มมาตรการและเครื่องมือในการเฝ้าระวัง และป้องกันความเสี่ยงในการบุกรุกทำลายในอนาคต นอกจากนี้ได้จัดทำป้ายคำบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับโบราณสถาน สร้างการรับรู้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมทั้งมีการส่งเสริมการท่องเที่ยว ด้วยติดตั้งไฟส่องสว่าง ณ โบราณสถานป้อมหมายเลข 9 อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ตั้งแต่เวลา 18:00 – 22:00 น.. สำหรับหัวเขาแดง เป็นพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลา มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏร่องรอยหลักฐานทั้งในแง่ของแหล่งโบราณคดี โบราณสถาณ โบราณวัตถุ รวมถึงวิถีชีวิตของผู้คน กรมศิลปากรจึงทำการสำรวจขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานบริเวณภูเขาน้อย เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2529 พื้นที่ประมาณ 20 เมตร เพื่อเป็นการปกป้อง คุ้มครอง และลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโบราณสถานภูเขาน้อย จากนั้น ในปี 2535 กรมศิลปากร ได้ลงพื้นที่สำรวจอีกครั้ง และพบว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก จึงได้ปรับปรุงแก้ไข พร้อมประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานครอบคลุมทั้งภูเขา กำหนดขอบเขตพื้นที่รวมประมาณ 2,460 ไร่..//
.ข่าว/ ภาพ :สำนักงาประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา