วิทยาลัยรัตภูมิ มทร.ศรีวิชัย ยกระดับวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี จังหวัดพัทลุง สู่รางวัลบุคคลต้นแบบแห่งปี 2567

เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2568 วิทยาลัยรัตภูมิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย ผศ.ดร.อาริษา โสภาจารย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและวิจัย (นักวิจัย) พร้อมด้วยคุณมนัทพงค์ เซ่งฮวด วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี จังหวัดพัทลุง เข้าร่วมโครงการนิทรรศการผลงานวิจัย นวัตกรรม มทร.ศรีวิชัย และยกย่องเชิดชูเกียรตินักวิจัย ณ ห้องประชุมศรีวิศว คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต นายกสภาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นประธานในพิธีพร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดีและคณะผู้บริหารเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ซึ่งเป็นการส่งเสริมการดำเนินงานด้านวิจัยและยังให้ความสำคัญแก่บุคลากรที่มีศักยภาพและความสามารถ จนนำมาสู่การจัดงานมอบรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรด้านวิจัย ประจำปี 2567 จึงมีการพิจารณาคัดเลือกให้รางวัลแก่บุคลากรทั้งหน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอกที่ให้การสนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินงานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ยังมีภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมีความโดดเด่นและน่าสนใจเป็นอย่างมาก

โดยทาง “วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี ได้รับรางวัลบุคคลต้นแบบแห่งปี 2567” วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจุดวรณี ได้ดำเนินกิจกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกระจุด ซึ่งนักวิจัยวิทยาลัยรัตภูมิ ได้ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนในการทำวิจัยอย่างต่อเนื่องและมีการสนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินงานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งในปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี ได้เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้งานหัตถกรรมกระจูดพัทลุงซึ่งมีความสำคัญต่อชุมชนและประชาชนทั่วไปเป็นอย่างยิง เพราะเป็นแหล่งรวบรวมวิทยาการหลักของความรู้ภายในชุมชน และเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น หัตถกรรม ที่สืบทอดมากว่า 100ปี และการสืบสานวัฒนธรรมให้แก่เยาวชน ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรรมศึกษาเรียนรู้งานหัตถกรรม วัฒนธรรมและวิถีชีวิตในชุมชน

นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อให้พร้อมสำหรับการรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่เดินทางเข้ามาภายในชุมชนมากขึ้น เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ทำให้มีการกระจายรายได้และเป็นการส่งเสริมให้กับคนในชุมชนเห็นความสำคัญของทรัพยากรท้องถิ่น วิถีชีวิต วัฒนธรรมดั้งเดิมในชุมชน จนเกิดจิตสำนึกในการฟื้นฟู อนุรักษ์และสืบทอดสู่ชนร่นหลัง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และงานจักสานกระจูดยังเป็นศิลปหัตถกรรมไทย ที่ส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นมาอย่างยาวนาน ซึ่งวิสาหกิจหัตถกรรมกระจูดวรรณี ยังคงสืบทอดรักษาหัตถศิลป์ต่อไปและยังควบคู่การพัฒนาหัตถศิลป์ให้เข้ายุกต์สมัยใหม่อย่างสร้างสรรค์ มีการนำนวัตกรรมใหม่มาใช้สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาประเทศไทศไทยแลนด์ 4.0 อีกด้วย