วันจันทร์, 23 ธันวาคม 2567

ทน.หาดใหญ่ร่วมกับอบจ.สงขลามหาวิทยาลัยสงขานครินทร์ประชุมแผนกู้เมืองหาดใหญ่จากภัยโควิด 19

วันที่26ก.ค.2564พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ เป็นประธานการประชุมระบบ ZOOM เรือง แผนกู้เมืองหาดใหญ่จากภัยโควิด 19 ร่วมด้วย นายกิตติ เรืองเริงกุลฤทธิ์ ปลัดเทศบาล น.ส.ทิพย์วิมล พลรักษ์ ผอ.กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ น.ส.รุจิยา สุขมี ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม น.ส.สุนัยเนตร วงศ์เกียรติกุล เลขานุการนายกเทศมนตรี นางปฏิมา ตันติเมตตา หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม โดยมีส่วนราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้องได้แก่ นพ.อุทิศศักดิ์ หริรัตนกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา สาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ สถาบันวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ ม.สงขลานครินทร์ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.หาดใหญ่ สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา สมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงานจังหวัดสงขลา และภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมประชุมด้วย
ซึ่งในวาระการประชุมนี้ ผศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ ผอ.สถาบันวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขานครินทร์ เป็นผู้ดำเนินการประชุมในเรื่อง แผนกู้เมืองหาดใหญ่จากภัยโควิด 19 ในเรื่องการดูแลผู้ป่วย การบริหารจัดการระบบและการรักษา การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและประชาชนในพื้นที่ การลงพื้นตรวจหาผู้ที่ติดเชื้อในชุมชน เป็นประเด็นได้ดังนี้

  • ศูนย์หลักการดูแลผู้ป่วย + Telemed
  • Platform + Care Protocol
  • ทีมดูแล (แพทย์ พยาบาล) + Support Team logistic (Food, Medication, Supplies)
  • การจัดการขยะ
  • การรับส่งผู้ป่วย
  • การป้องกันการแพร่เชื้อในชุมชนที่พัก
  • การร่วมมือกับอาสาสมัครชุมชน
  • ระบบการเบิกจ่าย ค่ารักษาพยาบาล
  • remote antigen

ทางด้าน พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ ได้แจ้งผลการดำเนินงานต่างๆที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ตั้งแต่การจัดตั้ง Local Quarantine การตรวจหาผู้ป่วยติดเชื้อในชุมชนเชิงรุก การจัดหาวัคซีนสำหรับประชาชนในเขตเทศบาล สำหรับการรับส่งผู้ป่วยนั้นก็ได้มีตัวแทนบริษัท สมาร์ท เอ็นเนอร์ยี ฟอร์ ไลฟ์ บริจาคให้ยืมใช้รถสำหรับใช้รับส่งผู้ที่ป่วยที่ติดเชื้อจำนวน 1 คัน เพื่อดูแลรับ-ส่ง และสนับสนุนภารกิจในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งขณะนี้ก็ได้ใช้รับส่งผู้ป่วยอยู่ พร้อมทั้งได้จัดเตรียมงบประมาณสำหรับการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและป้องกันการแพร่ระบาดไว้แล้ว นอกจากนี้ยังต้องการจัดระบบ ระเบียบแม่ค้าในตลาดพลาซ่า ในช่วงโควิด คนที่ไม่ได้ติดเชื้อ หรือประชาชนทั่วไป จะรับบริการได้อย่างไรหรือจะเข้าถึงได้อย่างไร

ซึ่งในที่ประชุมการได้มีการนำเสนอในเรื่องของการคัดแยกผู้ที่ป่วยที่เป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง ว่าควรจะต้องดำเนินการให้ชัดเจน สีเขียวควรจะอยู่กักตัวแบบ HI หรือ LQ ส่วนที่เป็นสีเหลืองหรือสีแดง ควรแยกออกมาอยู่ในระบบที่เป็นโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม หรือ Community Isolatio (CI) โดยมีการประสานการรับส่งที่ดี การประสานข้อมูล ควรใช้ Platform และ Care Protocol ที่เป็นระบบเดียวกันที่สามารถลิ้งค์ข้อมูลกันได้ การสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ควรที่จะได้มีการสนับสนุนทางคณะพยาบาลศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์มาร่วมช่วยเหลือ และมีอาสาสมัครร่วมการทำงานมากขึ้น การใช้แพทย์แผนไทยทางเลือกโดยใช้สมุนไพรต่างๆเช่น ฟ้าทลายโจร ยาสมุนไพร 5 ด้าน และกระชายขาวมาร่วมในการักษาแก่ผู้มีอาการสีเขียว หรือสีเหลืองที่ไม่อาการรุ่นแรง การนำเอาเครื่องมือทดสอบการตรวจวัดหาเชื้อแบบ Rapid Test หรือ แบบ RT-LAMP (FastporoofTM) มาเสริมให้กับเทศบาลนครหาดใหญ่ ในการเข้าตรวจหาเชื้อเชิงรุกในชุมชนมากยิ่งขึ้น และควรมีการประชาสัมพันธ์และทำสื่อในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้กักตัว ประชาชนทั่วไปและสร้างความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำ เพราะมีความเข้าใจและสามารถสร้างสรรค์การสื่อสารกับประชาชนได้ดี
โดยข้อสรุปจากที่ประชุมในวันนี้ นายกิตติ เรืองเริงกุลฤทธิ์ ปลัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จะทำเป็นแผนงานเสนอคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัดสงขลาเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป