
วันนี้ (20 กุมภาพันธ์ 2568) เวลา 09.30 น. ที่โรงแรมหาดแก้ว รีสอร์ท อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา พลโท ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 พร้อมผู้บังคับบัญชา ติดตามการปฏิบัติงานด้านทรัพยากรป่าไม้พื้นที่ จชต. ครั้งที่ 1/2568 โดยมีสำนักอำนวยการข่าวกรอง, หัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมฯ พร้อมรายงานการปฏิบัติงานภาพรวม

โดย พลโท ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ระบุภาพรวมห้วงที่ผ่านมาสำนักอำนวยการข่าวกรองได้บูรณาการร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ หน่วยงานความมั่นคง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันป้องปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และป่าไม้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงติดตามดำเนินคดีผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมาย ตลอดจนการปฏิบัติงานเชิงรุกในการฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรป่าไม้ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง พร้อมย้ำว่าทุกภาคส่วนได้บูรณาการร่วมกัน พร้อมเสนอแนวคิด แนวปฏิบัติ แนวทางแก้ไขปัญหา ที่ตรวจพบจากการปฏิบัติงานที่ผ่านมา นำข้อผิดพลาดเป็นบทเรียนและวางกรอบงานได้อย่างประสานสอดคล้อง เพื่อร่วมกันทำให้ทรัพยากรธรรมชาติ และป่าไม้ ในพื้นที่ชายแดนใต้คงความอุดมสมบูรณ์ตลอดไป
อย่างไรก็ตาม สำนักอำนวยการข่าวกรอง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า จัดการประชุมครั้งนี้ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพงานข่าวกรอง งานพัฒนาระบบข่าวกรอง การพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านการข่าว รายการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการข่าว (พัฒนาคน) กิจกรรมสัมมนาเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรด้านการข่าวในพื้นที่ จชต. การจัดประชุมป่าไม้ ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานด้านทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนที่จะต้องอนุรักษ์ “ป่าไม่” ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญยิ่งต่อมุษย์ โดยเฉพาะการเป็นแหล่งกำเนิดของปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ตลอดจนมีประโยชน์ด้านการรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อม จึงมีความสำคัญยิ่งที่ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญและร่วมพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของประเทศในการร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาการทุจริตเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ มีความเข้าใจในกฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ และนำมาวิเคราะห์ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการต่อต้านทุจริตด้านทรัพยากรป่าไม้ อีกทั้งติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง โดยต่อยอดตรวจสอบการกระทำความผิด และบังคับใช้กฎหมาย จนนำไปสู่การสื่อสารต่อสังคมในการต่อต้านทุจริตด้านทรัพยากรป่าไม้ อย่างเป็นรูปธรรม