เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2567 เวลา 10.00 น. ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านห้วยน้ำเย็น ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี พันเอก ณัฐวุฒิ ศรีสังข์ รองหัวหน้าคณะทำงานที่ 2 เป็นผู้แทน พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 / ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เดินทางลงพื้นที่ เพื่อพบปะ เยี่ยมเยียน สานสัมพันธ์ พี่น้องสมาชิกองค์กรภาคประชาชนเพื่อสันติ และเศรษฐกิจพอเพียง (กลุ่มเสื้อเขียว) จังหวัดปัตตานี บ้านห้วยน้ำเย็น ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ตามกิจกรรมขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อรับทราบปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงาน บูรณาการปฏิบัติร่วมกัน รวมถึงแนวทางการปฏิบัติ ตลอดจนเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานตามแนวทางศาสตร์พระราชา ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ 9) เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด งานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการนี้ ได้มอบ คู่มือการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และอินทผลัม ใช้ในการละศีลอด (เปิดบวช) ให้แก่พี่น้องสมาชิกไทยมุสลิม เพื่อแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสเข้าสู่เดือนรอมฎอน ประจำปีฮิจเราะห์ ศักราช 1445
ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ได้มอบหมายให้ คณะทํางานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ คณะที่ 2 ดําเนินการจัดกิจกรรมการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ และพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างประชาชนในพื้นที่กับภาครัฐ และติดตามความก้าวหน้าในการดําเนินงาน ของศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ด้วยการบูรณาการดําเนินงาน ร่วมกับส่วนราชการ ทุกภาคส่วน ทั้งฝ่ายทหาร พลเรือน รวมทั้งองค์กร ภาคประชาชนเพื่อสันติ และเศรษฐกิจพอเพียง (กลุ่มเสื้อเขียว) พร้อมทั้งได้กําหนดเป้าหมายในการลงพื้นที่พบปะเยี่ยมเยียน ติดตามความก้าวหน้า ของการดําเนินการ รับฟังปัญหาข้อเสนอแนะ และความต้องการของสมาชิก โดยปัจจุบันศูนย์การเรียนรู้ มีความพร้อมในการให้ความรู้
สําหรับศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นได้กําหนดแนวทางการดําเนินงานตามเป้าหมาย เพื่อให้การสนับสนุนช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่อยู่ในชุมชนชนบท และชุมชนเมืองรวมถึงเพื่อสนับสนุนงานตามนโยบายของรัฐ สนับสนุนการส่งเสริมอาชีพตามที่ชุมชนต้องการ ตลอดจนพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น และที่สำคัญคือการให้ความรู้ในการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพEM เพื่อนํามาประยุกต์ใช้ในครัวเรือนในรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ดูแลชุมชน และกองทุนสวัสดิการชุมชน เพื่อบําเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม สนับสนุนการพัฒนาให้กับชุมชน และประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ และทุกๆ ภาคส่วน อีกด้วย